2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ อิทธิพลของเหล็กฉากต่อการโอบรัดในเสาคอนกรีตที่เสริมกำลังด้วยเหล็กฉากและเหล็กรัด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 11 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมสีมาธานี 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 กุมภาพันธ์ 2559 
     ถึง 19 กุมภาพันธ์ 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 11 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ REP-9 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ แนวทางในการเสริมกำลังของเสาคอนกรีตนิยมทำอยู่สองรูปแบบ คือ การขยายหน้าตัดเสา และการเพิ่มการโอบรัดของเสา ซึ่งสามารถใช้วัสดุได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการขยายขนาดเสาด้วยการพอกคอนกรีต การโอบรัดด้วยวัสดุ FRP ฯลฯ วิธีหนึ่งที่สามารถใช้ในการเสริมกำลังเสาคอนกรีตคือการโอบรัดเสาด้วยเหล็กฉากและเหล็กรัด วิธีดังกล่าวสามารถเพิ่มกำลังและความเหนียวให้กับเสาคอนกรีตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยสองพฤติกรรมหลัก คือการโอบรัดและหน้าตัดแบบคอมโพสิต อย่างไรก็ตามในการประเมินความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาที่ได้รับการเสริมกำลังจำเป็นที่จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการโอบรัด งานวิจัยนี้จึงได้มุ่งเน้นศึกษาในประเด็นของอิทธิพลของเหล็กฉากที่มีผลต่อการโอบรัดในเสาคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมภายใต้การรับแรงในแนวแกน ผลการทดสอบพบว่าการโอบรัดด้วยเหล็กรัดตลอดความยาวเสา การเพิ่มความกว้างของปีกเหล็กฉากจะสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการโอบรัดได้ แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการรับแรงอัดจะลดลงเมื่อความกว้างของเหล็กฉากมีค่ามาก และเมื่อเพิ่มระยะห่างของเหล็กรัดพบว่า ความสามารถในการโอบรัดจะถูกควบคุมโดยความสามารถในการโอบรัดของเหล็กฉากเอง ซึ่งโมเมนต์ความเฉื่อยของเหล็กฉากในแกนรองจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ควบคุมการโอบรัดในช่วงที่ไม่มีเหล็กรัด และสติฟเนสของเหล็กรัดจะช่วยควบคุมประสิทธิภาพของการโอบรัดโดยรวม 
ผู้เขียน
565040031-1 นาย ภัทรพล พลศักดิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0