ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การศึกษาเทศน์มหาชาติแหล่อีสานตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
27 พฤศจิกายน 2558 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
11th International Conference on Humanities and Social Sciences 2015 (IC-HUSO 2015) |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
Khon Kaen University, Thailand |
สถานที่จัดประชุม |
Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University, Thailand |
จังหวัด/รัฐ |
Khon Kaen University, Thailand |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
26 พฤศจิกายน 2558 |
ถึง |
27 พฤศจิกายน 2558 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
11 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
1118-1132 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของสถานการณ์สื่อสารในการเทศน์มหาชาติ และวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์สื่อสารการเทศน์มหาชาติ ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์สื่อสารการเทศน์มหาชาติของพระครูสุตสารพิมลและคณะ ประกอบด้วยเหตุการณ์สื่อสารทั้งหมด 11 เหตุการณ์ ตามลำดับ ได้แก่ เหตุการณ์สื่อสารการไหว้พระบูชาพระรัตนตรัย การรับศีล การอาราธนาเทศน์ การสมมุติบทบาทผู้เทศน์ การบอกศักราชเทศนา การเทศน์มหาชาติตามเนื้อเรื่องในกลอนเทศน์ การแหล่อวยพรลา การกล่าวคำสาธุการเมื่อฟังเทศน์จบ การถวายกัณฑ์เทศน์และเครื่องไทยทาน การให้พรกรวดน้ำเป็นภาษาบาลี และการกล่าวคำลากลับบ้านของพุทธศาสนิกชนที่มาฟังเทศน์ ซึ่งการแยกเหตุการณ์สื่อสารดังกล่าว ใช้วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทั้ง 10 ประการ ของสถานการณ์สื่อสารการเทศน์มหาชาติ สรุปภาพรวมได้ว่า ผู้ร่วมเหตุการณ์สื่อสารหลักของการเทศน์มหาชาติ ประกอบด้วย คณะพระนักเทศน์ ผู้นำฝ่าย ศาสนพิธี และพุทธศาสนิกชนผู้ฟังเทศน์ สถานที่ของสถานการณ์สื่อสารคือ ศาลาการเปรียญของวัดที่มีการจัดงานบุญมหาชาติ ช่วงเวลาในการจัดงานบุญมหาชาติคือช่วงเดือน 4 และเวลาในการแสดงเทศน์มหาชาติ คือ 10.00 น. ถึง 16.00 น. หัวข้อหลักคือการเทศน์เรื่องมหาชาติชาดก วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อปลูกฝังคุณธรรมและความเชื่อเรื่องการทำบุญให้ทานและการเสียสละ เนื้อหาหลักของสถานการณ์สื่อสารคือการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับมหาชาติชาดก ในส่วนของรูปแบบการสื่อสาร มีการใช้ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา การสื่อสารในสถานการณ์สื่อสารปรากฏวัจนกรรมสื่อสารจำนวน 22 วัจนกรรม เช่น การแสดงความเคารพ การทักทาย การแนะนำ การอวยพร และการลา เป็นต้น ส่วนกฎการปฏิสัมพันธ์ที่ปรากฏในการสื่อสารนั้นเป็นไปโดยความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน และจากบรรทัดฐานการตีความนั้นทำให้เห็นว่าในการเทศน์นั้นหากพระนักเทศน์มีน้ำเสียงที่ไพเราะและแสดงบทบาทหน้าที่ในการเทศน์ได้ดีก็จะได้รับความชื่นชมจากผู้ฟังเทศน์นั่นเอง
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
นานาชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|