2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากสารสกัดหมากเม่า (Antidesma velutinosum Blume) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 กุมภาพันธ์ 2558 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2558 
     หน้า 261-266 
     บทคัดย่อ บทนำ: หมากเม่า (Antidesma velutinosum Blume) ผลไม้ขนาดเล็ก มีสีแดงและม่วงดำ เป็นหนึ่งในพืชที่มีการใช้ประโยชน์ในทางสุขภาพ โดยพบว่า หมากเม่ามีสารแอนโทไซยานิน สารฟลาโวนอยด์ รวมถึงสารพอลิฟีนอลที่มีฤทธิ์ในการต้าน อนุมูลอิสระ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำสารสกัดหมากเม่าที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลายที่เหมาะสม มาเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ และศึกษาคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่เตรียมได้. วิธีการดำเนินการวิจัย ทดสอบหาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดหมากเม่า โดยใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิด ได้แก่ เอทานอล ร้อยละ 95, เอทานอล ร้อยละ 50 และน้ำ ตรวจสอบปริมาณสารสำคัญในหมากเม่าที่สกัดได้ คือ ปริมาณแอนโทไซยานิน ปริมาณสารพอลิฟีนอล และปริมาณฟลาโวนอยด์ นำสารสกัดหมากเม่าที่สกัดที่ให้ปริมาณสารสำคัญสูงที่สุด มาพัฒนาผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ โดยใช้เจลาตินเป็นสารก่อเจล ทำการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลินทรีย์. ผลการศึกษาวิจัย: สารสกัดหมากเม่าที่ได้จากการสกัดด้วย เอทานอล ร้อยละ 95 มีผลผลิตร้อยละ (% yield) สูงกว่าตัวทำละลายอีก 2 ชนิด และมีปริมาณแอนโทไซยานิน สารพอลิฟีนอล และฟลาโวนอยด์ สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) หมากเม่ากัมมี่เยลลี่ที่มีปริมาณเจลาติน ร้อยละ 10 มีปริมาณความชื้นอิสระน้อยกว่า เจลาติน ร้อยละ 15 เมื่อทำการทดสอบลักษณะเนื้อสัมผัส พบว่ามีค่าความแข็ง (Firmness) และแรงที่ใช้ในการบดเคี้ยว (Chewiness) น้อยกว่าเช่นกัน รวมถึงไม่พบเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ. สรุปผลการวิจัย: จากผลการศึกษา พบว่าสารสกัดหมากเม่าที่ได้จากการสกัดด้วยเอทานอล ร้อยละ 95 มีปริมาณสารสำคัญในปริมาณสูงที่สุด จึงเหมาะสมต่อการนำสารสกัดดังกล่าวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่จากสารสกัดหมากเม่า รวมถึงอาจนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอื่นๆ ได้อีกด้วย 
     คำสำคัญ หมากเม่า, แอนโทไซยานิน, พอลิฟีนอล, กัมมี่เยลลี่ 
ผู้เขียน
555150037-5 น.ส. เศรษฐิณี แสงอ่อน [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0