2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกิน: กรณีศึกษาที่ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 
Date of Acceptance 30 March 2016 
Journal
     Title of Journal ศรีนครินทร์เวชสาร 
     Standard TCI 
     Institute of Journal ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 31 
     Issue
     Month พฤษภาคม-มิถุนายน2559
     Year of Publication 2016 
     Page  
     Abstract หลักการและวัตถุประสงค์: โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขในทั่วโลก สาเหตุหลักเกิดจากการได้รับพลังงานมากเกินไปและออกกำลังน้อยน้อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนั้น การศึกษานี้ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่มีและไม่มีน้ำหนักเกิน ที่อาศัยอยู่ในตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอยู่ในช่วง 60-80 ปี ที่มีและไม่มีน้ำหนักเกิน จำนวน 322 ราย การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าสัดส่วนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ใช้ Z-test และ95% CI ผลต่างของค่าสัดส่วน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา: ผู้สูงอายุที่มีและไม่มีน้ำหนักเกินส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิง แต่งงานและมีศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ผู้สูงอายุที่มีและไม่มีน้ำหนักเกิน มีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 80.8 และ ร้อยละ 68.3 ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.011 ) ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกิน มีทัศนคติการบริโภคอาหารปานกลาง ร้อยละ 52.7และผู้สูงอายุที่ไม่มีน้ำหนักเกิน มีทัศนคติการบริโภคอาหารที่ดี ร้อยละ 83.9 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value=0.000 ) การปฏิบัติตัวการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างกันทางด้านสถิติ ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกิน มีความรู้การออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.0 และผู้สูงอายุที่ไม่มีน้ำหนักเกิน มีความรู้การออกกำลังกายอยู่ในระดับดี ร้อยละ 41.6 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.000 ) สำหรับทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการออกกำลังกาย พบว่า ผู้สูงอายุที่มีและไม่มีน้ำหนักเกินมีทัศนคติในระดับดี ร้อยละ 100.0 และ ร้อยละ 96.3 ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value=0.013 ) และพบว่า ผู้สูงอายุที่ไม่มีน้ำหนักเกินมีการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่ากลุ่มที่มีภาวะโภชนาการเกิน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p-value = 0.000 ) สรุป: พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่มีและไม่มีน้ำหนักเกินมีความแตกต่างกัน  
     Keyword พฤติกรรม, การบริโภคอาหาร, การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ,น้ำหนักเกิน 
Author
555110012-5 Miss VANITTHA PAKSEELERD [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0