2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประยุกต์ใช้ของเสียอุตสาหกรรม เพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการผลิตไบโอดีเซลจากนํ้ามันปาล์มโอเลอิน (Application of Industrial Waste as a Catalyst for Biodiesel Production of Palm Olein) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 มกราคม 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม The National and International Graduate Research Conference 2016 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มกราคม 2559 
     ถึง 15 มกราคม 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 283-291 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ปูนขาวเหลือทิ้งจากกระบวนการต้มเยื่อของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มโอเลอินกับเมทานอลได้ โดยการนำไปปรับสภาพด้วยกรดและเผาที่อุณหภูมิสูงเพื่อกำจัดสิ่งเจือปน ซึ่งผลการทดลองที่ได้พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพ คือ การใช้กรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 4 โมลต่อลิตร อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส และใช้เวลา 2 ชั่วโมง ปูนขาวที่ปรับสภาพแล้วจะมีค่าความแรงของเบสระหว่าง 9.8-15.0 และมีองค์ประกอบหลักได้แก่ แคลเซียมออกไซด์ (75.17%) แมกนีเซียม ออกไซด์ (7.70%) และซิลิคอนไดออกไซด์ (4.90%) สำหรับสภาวะที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันเมื่อใช้ปูนขาวที่ปรับสภาพแล้วเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา คือ ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 6 อัตราส่วนโมลของเมทานอลต่อน้ำมันปาล์มโอเลอินเป็น 12:1 อุณหภูมิในการเกิดปฏิกิริยาที่ 65 องศาเซลเซียส และใช้เวลาในการเกิดปฏิกิริยา 2 ชั่วโมง พร้อมกวนด้วยอัตราเร็ว 300 รอบต่อนาที เมื่อทำปฏิกิริยาด้วยสภาวะนี้จะได้ไบโอดีเซลที่มีร้อยละการเปลี่ยนและร้อยละความบริสุทธ์ิเท่ากับ 81.11 และ 99.08 ตามลำดับ ดังนั้นปูนขาวเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าโดยการใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ในการผลิตไบโอดีเซลได้ 
ผู้เขียน
565020135-1 นาง ปรารถนา โสสีหา [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0