Research Title |
การเปรียบเทียบความแตกต่างของการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อ Quadriceps
ในเพศหญิงที่วัยแตกต่างกัน
|
Date of Distribution |
17 November 2015 |
Conference |
Title of the Conference |
การประชุมวิชาการด้านกิจกรรมทางกายระดับชาติครั้งที่ ๑ (NCPA2015) |
Organiser |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ |
Conference Place |
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ |
Province/State |
กรุงเทพมหานคร |
Conference Date |
17 November 2015 |
To |
18 November 2015 |
Proceeding Paper |
Volume |
1 |
Issue |
1 |
Page |
235 |
Editors/edition/publisher |
|
Abstract |
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์และวิธีการศึกษา
การศึกษาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการหดตัวสูงสุด (Maximum voluntary isometric contraction, MVIC) ของกล้ามเนื้อ Quadriceps ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 3 มัด คือ Vastus medialis (VMO), Rectus femeris (RF)และ Vastus lateralis (VL) ในอาสาสมัครเพศหญิง จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 10 คน ซึ่งแต่ละกลุ่มแบ่งตามช่วงอายุ กลุ่มที่ 1 อายุระหว่าง 30-39 ปี กลุ่มที่ 2 อายุระหว่าง 40–49 ปีและกลุ่มที่ 3 อายุระหว่าง 50–59 ปี ในการทดสอบใช้ surface EMG ในการบันทึกค่าสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อหรือค่าการทำงานของกล้ามเนื้อ Quadriceps ทั้ง 3 มัด เลือกทดสอบขาข้างที่ถนัด ท่าเริ่มต้นให้อาสาสมัครนั่งลำตัวตรง กอดอก ขาลอยพ้นพื้นสะโพกและเข่างอ 90 องศา ขณะบันทึกให้อาสาสมัครออกแรงเหยียดเข่ามากที่สุดโดยมีแรงต้านที่มุม 60 องศาเป็นเวลา 3 วินาที บันทึกค่าสัญญาณไฟฟ้าเป็น root mean square (RMS) ทดสอบ 3 ครั้งและหาค่าเฉลี่ย จากนั้นปรับข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเป็นร้อยละของค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI) ของแต่ละคน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย one-way ANOVA และใช้ Bonferroni post hoc test ในการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม
ข้อค้นพบ การเปรียบเทียบค่าร้อยละ RMS ของ MVIC ของกล้ามเนื้อ VMO, RF และ VL ต่อ BMI ในระหว่างกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบว่ากล้ามเนื้อ VMO ในกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีค่า RMS ของการหดตัวสูงสุดลดลงคือ ร้อยละ 1.62, 1.37 และ1.15 mv/(kg/m2)ตามลำดับ ส่วนกล้ามเนื้อ RF ทั้ง 3 กลุ่มมีค่าใกล้เคียงกันมาก สำหรับกล้ามเนื้อ VL ในกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่าใกล้เคียงกัน และกลุ่มที่ 3 มีค่าต่ำที่สุด
ข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้ พบการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อ VMO, RF และ VL ในแต่ละกลุ่ม มีค่าใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อ VMO มีแนวโน้มจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นว่าความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดนี้มีแนวโน้มลดลงตามอายุ การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดของจำนวนอาสาสมัคร ดังนั้นการศึกษาในอนาคตควรเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและขยายการศึกษาในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ
การออกกำลังกายเข่า, กล้ามเนื้อ Quadriceps, การตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าอีเอ็มจี
|
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
ชาติ |
Type of Proceeding |
Full paper |
Type of Presentation |
Poster |
Part of thesis |
true |
Presentation awarding |
false |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|