2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title อิทธิพลของเฟอร์นิเจอร์ต่อปริมาณแสงสว่างในห้องเรียน 
Date of Distribution 24 June 2016 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 3 ประจำปี 2559  
     Organiser คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place โรงแรมเซนทาราคอนเวนชั่นเซนเตอร์ 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 24 June 2016 
     To 24 June 2016 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue 978-616-223-827-7 
     Page 189-199 
     Editors/edition/publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Abstract การประเมินปริมาณแสงสว่างภายในอาคารมีวิธีการหลักได้แก่การวัดแสง การจำลองสภาพแสงสว่างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือการคำนวณโดยสมการทางคณิตศาสตร์ เช่น สมการLumen methodและสมการ Daylight factor ซึ่งวิธีการคำนวณโดยสมการคณิตศาสตร์เป็นวิธีการสำหรับห้องเปล่าที่ปราศจากเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งอาจแตกต่างจากปริมาณแสงสว่างที่เกิดขึ้นจริงที่มีเฟอร์นิเจอร์เพื่อการใช้งานพื้นที่ภายในห้อง วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อหาวิธีการประเมินปริมาณแสงสว่างภายในอาคารที่มีอิทธิพลของปริมาณเฟอร์นิเจอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยทำการศึกษาห้องเรียนขนาดเล็กความจุ30ที่นั่ง ขนาด4.20x8.00x3.50เมตร ห้องเรียนขนาดกลางความจุ80ที่นั่ง ขนาด8.20x11.80x3.50เมตรและห้องเรียนขนาดใหญ่ความจุ160ที่นั่ง ขนาด10.20x15.85x3.50เมตร โดยวิธีการจำลองด้วยโปรแกรมDialux 4.12 ผลการศึกษาปริมาณแสงพบว่าเมื่อเพิ่มสัดส่วนของพื้นที่ผิวเฟอร์นิเจอร์ต่อพื้นที่ผิวห้อง(AF/AR)ตามจำนวนเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานจริงภายในห้องเรียนขนาดเล็กครั้งละ 10%จนถึง 100% พบว่ามีแนวโน้มการลดลงของปริมาณแสงสว่างเฉลี่ยภายในห้องเรียนเท่ากับ 0.37%ถึง1.84%และ มีปริมาณ DF ที่ลดลง 0.36% ถึง 1.81%ตามลำดับ และห้องเรียนขนาดกลางเมื่อเพิ่มสัดส่วนของ AF/ARเป็น10% จนถึง 100% จะพบว่าการลดลงของค่าแสงสว่างเฉลี่ยภายในห้องเรียนเท่ากับ 0.84%ถึง 5.65% และมีค่าการลดลงของปริมาณ DFเท่ากับ 0.60%ถึง 5.09%ส่วนกรณีห้องเรียนขนาดใหญ่การเพิ่มสัดส่วนของ AF/ARตามจำนวนเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้งานจริงภายในห้องเป็น 10%จนถึง100% จะพบว่าการลดลงของปริมาณแสงสว่างเฉลี่ยภายในห้องเรียนขนาดใหญ่เท่ากับ 1.42%ถึง10.14% และ มีค่าการลดลงของปริมาณ DF เท่ากับ 0.96% ถึง 8.13%ตามลำดับ ซึ่งผลการศึกษาแสดงตัวแปรเพื่อใช้ปรับสมการคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้ความสว่างที่ใกล้เคียงกับการใช้งานของพื้นที่มีเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง There are various ways to predict illuminancein a building such as lighting simulation softwareormathematical models as lumen method calculations and daylight factor equation. However, the assumption used to calculate is that a room is empty without furniture. This may affect the assessment of the amount of lighting of the room. The objective of this work is to find the effect of furniture when presenting in a room onthe quantity of interior lighting. The samples of small-size classroom with 30 seats with4.20x8.00x3.50 meters, the medium-size classroom with 80 seats with 8.20x11.80x3.50 meters, and the large-size classroom with 160 seats with 10.20x15.85x3.50 meters were used to study in the DIALux 4.12. When increasing the amount of furniture (lecture chairs) by 10% to 100% of classroom capacity, the results is as follows. For the small classroom, illuminance level was reducedilluminance level was reduced by 0.37% to 1.84%, and the daylight factor was reducedby 0.36% to 1.81%.For the mediumclassroom, illuminance was reduced by 0.84% to 5.65%, and the daylight factor was reduced by 0.60% to 5.09%. For the large classroom,illuminance the classrooms was reduced by 1.42% to 10.14%, and the daylight factor was reduced by 0.96% to 8.13%, respectively.The variables to correct the lumen method and daylight factor equation to obtainilluminance with the furniture effect for the room are also presented. 
Author
565200009-4 Mr. APICHAI PATIMAKHONTRAKHUL [Main Author]
Architecture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0