ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
11 กรกฎาคม 2559 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 “สหวิทยาการสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืน” |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร |
สถานที่จัดประชุม |
ณ ศูนย์ สันสกฤตศึกษา เขตทวีวัฒนา |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
11 กรกฎาคม 2559 |
ถึง |
12 กรกฎาคม 2559 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
6 |
Issue (เล่มที่) |
- |
หน้าที่พิมพ์ |
s960-s972 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเข้าถึงบริการสุขภาพและศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยระหว่างเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ ระยะเวลาการเข้ามาอยู่ในประเทศไทย การมีโรคประจำตัว กับการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ดำเนินการในพื้นที่ 8 ตำบล ในเขตอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ระยะเวลาในการศึกษาอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม 2559 ประชากรทั้งหมด 509 คน มีประชากรกลุ่มตัวอย่าง 253 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ t- test
ผลการศึกษาพบว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.3 อายุเฉลี่ย 33 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 73.5 สัญชาติลาว ร้อยละ 83.0 ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 80.6 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 70.8 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 68.8 ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 91.3 ระยะเข้ามาอยู่ในประเทศไทย 1-2 ปี ร้อยละ 61.7 และไม่มีผู้ติดตาม ร้อยละ 83.4 การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติพบว่า ในรอบ 1 ปีแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่มีความต้องการในการบริการสุขภาพ (ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู) ร้อยละ 79.8 วิธีการปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วยรับบริการที่โรงพยาบาล/รพ.สต. ร้อยละ 55.3 ได้รับการบริการเยี่ยมบ้านหรือปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล/รพ.สต. ร้อยละ 62.1 ไม่มีปัญหาในการสื่อสารเมื่อใช้บริการหรือมีความต้องการใช้บริการสุขภาพ ร้อยละ 89.7 เมื่อแรงงานข้ามชาติเข้ารับบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล/รพ.สต. ค่าใช้จ่ายกับโรค มีความเหมาะสม ร้อยละ 96.0 ความสามารถในการจัดบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล/รพ.สต. ตรงตามความต้องการ ร้อยละ 96.4 การให้บริการสุขภาพของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล/รพ.สต. มีความเหมาะสม ร้อยละ 97.6 การเข้าใช้บริการโรงพยาบาล/รพ. สต. เมื่อแรงงานข้ามชาติเจ็บป่วยมีความเหมาะสม ร้อยละ 97.6 การซื้อหลักประกันสุขภาพมีความคุ้มค่า ร้อยละ 90.5 และการซื้อหลักประกันสุขภาพกับสถานพยาบาลที่กระทรวง สาธารณสุขกำหนดในการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแรงงานข้ามชาติซื้อเอง ร้อยละ 49.0 การประเมินการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ พบว่า มีการเข้าถึงบริการสุขภาพ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยรวม 3.76 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติ
t- test พบว่า เพศ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย มีความสัมพันธ์กับจำนวนคะแนนการประเมินการเข้าถึงบริการสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|