2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สภาวะน่าสบายทางอุณหภูมิในสิมอีสานของประเทศไทยThermal Comfort in I-SAN Ordination Hall (SIM) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 24 มิถุนายน 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม เทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่3 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเซนทาราคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 24 มิถุนายน 2559 
     ถึง 24 มิถุนายน 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 173-188 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาวะสบายทางอุณหภูมิในพระอุโบสถแบบอีสาน (สิม) โดยเก็บข้อมูล อุณหภูมิอากาศ (Ambient air temperature) ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity) อุณหภูมิพื้นผิวโดยรอบ (Mean radiant temperature) และความเร็วลม (Wind speed) จากสิม 4 หลัง คือสิมทึบ 2 หลัง และสิมโปร่ง 2 หลัง ผลปรากฏว่าในสิมทึบปัจจัยจากอุณหภูมิพื้นผิวโดยรอบจะมีผลค่อนข้างมาก ส่วนความเร็วลมช่วยได้เล็กน้อย และในสิมโปร่งปัจจัยจากอุณหภูมิพื้นผิวโดยรอบมีผลค่อยข้างน้อยมาก แต่ได้อิทธิพลจากความเร็วลมค่อนข้างมาก ถึงอย่างไรก็ตามทั้ง 2 ปัจจัยยังไม่สามารถทำให้ความรู้สึกทางอุณหภูมิเข้าสู่สภาวะสบายทางอุณหภูมิได้ จึงนำปัจจัยใจทางด้านบุคคล ซึ่งสามารถปรับตัวเข้าหาสภาวะสบายทางอุณหภูมิ โดยมีปัจจัยคือ อัตราการเผาผลาญของร่างกาย (Metabolic rate) และเสื้อผ้าที่สวมใส่ (Clo-value) มาทำนายค่าโหวตเฉลี่ย (Predicted Mean Vote ;PMV หรือ Percentage People Dissatiefied ;PPD) ซึ่งผลปรากฏว่าจากภูมิปัญญาของคนโบราณที่ให้สำรวมขณะเข้าวัดมีผลทำให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายต่ำลง จนเข้าสู่สภาวะสบายทางอุณหภูมิ และในช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงสุดต้องใช้การปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้มีค่าความเป็นฉนวนลดลง แต่ช่วงเวลาที่อุณหภูมิต่ำสุดในช่วงกลางคืนจะต้องปรับเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้มีค่าความเป็นฉนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่สามารถปรับอัตราการเผาผลาญของร่างกายได้ This research is about the study of Thermal Comfort in I – San Ordination Hall (SIM) by measuring the ambient air temperature, relative humidity, mean radiant temperature, and wind speed. From four temples in the research; two of them are solid temple (Enclosed by 4 walls) and the other two are airy temple (Enclosed by 1 wall). It appears that the factor of mean radiant temperature affects thermal comfort a lot for the two solid temples while the wind speed affects just a little. In case of the two airy temples, mean radiant temperature has such a small effect to thermal comfort while wind speed is the main influence. However, those two factors alone cannot create the thermal comfort. It is needed to involve personal factors which include metabolic rate and clo-value to do PMV (Predicted Mean Vote) or PPD (Percentage People Dissatisfied). It is shown that the idea of ancient people, to be calm when you go to the temple, affects the metabolic rate to be lower until it reaches the thermal comfort. In the heat, the cloth insulation should be low, whereas the cloth insulation in low temperature should be high as the metabolic rate cannot be adjusted by itself. 
ผู้เขียน
565200032-9 นาย อรรถพล ตั้งบรรจงกิจ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0