2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเสริมเมล็ดหางนกยูงบดต่อกระบวนการหมักในรูเมน การย่อยได้และการลดการปลดปล่อยเมทเธนโดยเทคนิคการผลิตแก๊ส 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 4 มกราคม 2559 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 44 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า 47-52 
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเสริมเมล็ดฝักหางนกยูงบดต่อจลนศาสตร์ของแก๊ส ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N) การผลิตแก๊สเมทเธน และการย่อยสลายได้ในห้องปฏิบัติการแบบ in vitro วางแผนการทดลองเป็นแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) โดยแบ่งเป็น 10 ปัจจัยการทดลองแต่ละปัจจัยมี 3 ซ􀄬้ำ ซึ่งปัจจัยการทดลองคือ ระดับของการเสริมเมล็ดฝักหางนกยูงบด 10 ระดับ ได้แก่ 0, 0.0033, 0.005, 0.0067, 0.0083, 0.01, 0.01167, 0.0133, 0.015, 0.0167 กรัม ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าการเสริมเมล็ดฝักหางนกยูงบด ที่ระดับ 0.0067, 0.0083, 0.01167 และ 0.015 กรัม ส่งผลทำให้อัตราการผลิตแก๊ส (c) และความสามารถในการย่อยได้ของวัตถุแห้งสูงที่สุด (P<0.05) แต่ไม่มีผลต่อค่า pH และความเข้มข้นของ NH3-N ในของเหลวของขวดทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่า การเสริมเมล็ดฝักหางนกยูงบดที่ระดับ 0.005 และ 0.01167 กรัม ทำให้ความเข้มข้นของแก๊สเมทเธนมีค่าลดลงมากที่สุด ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากศักยภาพการผลิตแก๊ส ความสามารถในการย่อยได้ของวัตถุแห้ง และการลดการผลิตแก๊สเมทเธน จะเห็นได้ว่า การเสริมเมล็ดฝักหางนกยูงบด ที่ระดับ 0.01167 กรัม มีความเหมาะสมต่อการน􀄬ำไปศึกษาในตัวสัตว์ต่อไป 
     คำสำคัญ กระบวนการหมัก, แก๊สเมทเธน, เทคนิคการผลิตแก๊สในห้องปฏิบัติการ, เมล็ดฝักหางนกยูง 
ผู้เขียน
575030082-1 นาย ชนะดล สุภาพงษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ
575030020-3 น.ส. อนุธิดา เสนคำสอน
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum