Title of Article |
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัย
ต่อการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐานของพยาบาลวิชาชีพ
โรงพยาบาลชุมชน เขตบริการสุขภาพที่ 9
|
Date of Acceptance |
9 August 2016 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิจัยเเละพัฒนาระบบสุขภาพ |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
10 |
Issue |
1 |
Month |
มกราคม-เมษายน |
Year of Publication |
2017 |
Page |
|
Abstract |
การวิจัยเชิงสำรวจแบบการศึกษาเชิงพยากรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล และการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยต่อการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง เขตบริการสุขภาพที่ 9 ที่ปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 210 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยและการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.91 และ 0.89 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมา 198 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.28 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษาพบว่า
1. พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตบริการสุขภาพที่ 9 มีระดับการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัย และการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน อยู่ในระดับสูง ( =3.75, 4.43) ตามลำดับ
2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน ของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ประสบการณ์การเป็นคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประสบการณ์การอบรมด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล และประสบการณ์การทำงาน (r=0.23, 0.21, 0.18) ตามลำดับ โดยทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ
3. การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัย ด้านที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน ของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านความปลอดภัย และการรับรู้สภาวะความปลอดภัยในองค์กร (r=0.18, 0.17) ตามลำดับ โดยทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ
4. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันอธิบายการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐานของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์การอบรมด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประสบการณ์การเป็นคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยด้านผู้บริหารมีการส่งเสริมความปลอดภัย ด้านการรับรู้สภาวะความปลอดภัยในองค์กร ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ความปลอดภัย และด้านวัฒนธรรมในการเรียนรู้ โดยสามารถร่วมกันอธิบายการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐานของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 15.10 (R2=.151) โดยพบว่ามี 2 ตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐานของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัย ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ความปลอดภัย และประสบการณ์ในการเป็นคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Beta=0.234, 0.160) ตามลำดับ
|
Keyword |
การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัย, การปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบบมาตรฐาน |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
true |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|