2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การตอบสนองระยะเฉียบพลันของระบบไหลเวียนเลือดต่อเทคนิคการขยายปอดด้วยเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยบาดเจ็บระยะวิกฤติที่มีภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 มิถุนายน 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม โครงการประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติครั้งที่ 8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 มิถุนายน 2559 
     ถึง 23 มิถุนายน 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 52-58 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ แม้ว่าเทคนิคการขยายปอดด้วยเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator hyperinflation; VHI) สามารถเพิ่มปริมาตรปอด เพิ่มการระบายเสมหะ และเพิ่มการแลกเปลี่ยนก๊าซ แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงความปลอดภัยของผลของเทคนิคนี้ต่อหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บระยะวิกฤต คณะผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ศึกษาผลการตอบสนองระยะเฉียบพลันของระบบไหลเวียนเลือดต่อเทคนิค VHI ในผู้ป่วยบาดเจ็บระยะวิกฤตที่มีภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจ รูปแบบการศึกษาเป็นแบบสุ่มไขว้ ทำการศึกษาในผู้ป่วยบาดเจ็บระยะวิกฤต จำนวน 11 คน ที่ได้รับการใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจ เปรียบเทียบผลระหว่าง 2 ภาวะ คือ ภาวะ VHI ซึ่งเพิ่ม ปริมาตรหายใจ (tidal volume) 150 % คงไว้ 6 นาที ร่วมกับการคงค้างการหายใจเข้า 5 วินาที 6 ครั้ง/ชุด 4 ชุด พักระหว่างชุด 1 นาทีและภาวะควบคุม(Chest physiotherapy; CPT) ซึ่งได้รับกายภาพบำบัดทรวงอกตามปกติ (สั่นปอด และการเคลื่อนไหวแบบทำให้ของระยางค์แขน) เป็นเวลา 6 นาทีวัดตัวแปรความดันเลือด (SBP, DBP, MAP) อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) แรงดันในหลอดเลือดดำใหญ่ (CVP), ECG, และSpO2 ในช่วงพักก่อน ระหว่าง และช่วงพักหลังการรักษา ผลการศึกษาในอาสาสมัครบาดเจ็บ 11 คน อายุเฉลี่ย 34.0±13.4 ปี (ชาย 7 คน, หญิง 4 คน) ค่าเฉลี่ย Apache II = 21.5±5.0 คะแนน มีภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจ เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในช่วงพักก่อนกับระหว่างรักษาของภาวะ VHI กับ CPT พบว่าการเปลี่ยนแปลง SBP, DBP, MAP ลดลง และ CVP เพิ่มในภาวะ VHI การเปลี่ยนแปลงนี้แตกต่างกับภาวะ CPT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีความแตกต่าง SBP = -3.0±0.6 mmHg (p=0.003), DBP = -2.4±0.8 mmHg (p=0.034), MAP = -2.5±0.9 mmHg (p=0.046) และ CVP=1.7±0.1 cmH2O (p<0.001) การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของตัวแปรทุกตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ทันทีหลังการรักษา ไม่พบภาวะหัวใจเต้นผิดปกติและภาวะพร่องออกซิเจนตลอดช่วงที่ทำการศึกษา จึงสรุปได้ว่าเทคนิค VHI มีความปลอดภัย โดยมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยบาดเจ็บระยะวิกฤตที่มีภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจที่ไม่มีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ อย่างไรก็ตามต้องศึกษาประสิทธิผลในการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่อไป Abstract Ventilator hyperinflation technique (VHI) has been found to be effective for increasing lung volume, airway clearance and oxygenation. However, study of its safety on cardiovascular functions has not yet conducted in critical trauma patients with lung complication although VHI could be an effective technique for patients with lung complications. The aim of the present study was to explore hemodynamic responses to VHI in critical trauma patients with lung complications and compare with control condition (chest physiotherapy, CPT). The study was a randomized cross-over trial. Critical injury participants with mechanical ventilator dependence and lung complications were randomly assigned to either VHI or CPT condition. VHI condition was carried out by increasing tidal volume 150 % for 6 min combined with inspiratory hold for 5 sec 6 time/set 4 sets, CPT condition was vibration and passive of upper limbs for 6 min. Heart rate (HR), blood pressure (SBP, DBP, and MAP), and central venous pressure (CVP), ECG, SpO2 were record at pre, during, and post intervention. Changes in hemodynamic functions between VHI and CPT were compared. Eleven participants (7 male and 4 female) aged 34.0±13.4 years and an APACHE II score of 21.5±5.0 points were recruited. During intervention, SBP, DBP, MAP, and CVP were significantly, though little, different from pre-intervention with changes of SBP = -3.0±0.6 mmHg (p=0.003), DBP = -2.4±0.8 mmHg (p=0.034), MAP = -2.5±0.9 mmHg (p=0.046) และ CVP=1.7±0.1 cmH2O (p<0.001). These little changes were return to baseline immediately in post intervention. There were no episode of cardiac arrhythmia and hypoxia. In conclusion, there were a little changes but not clinically significance of hemodynamic status during VHI technique. The VHI technique is safe and can be used in critical trauma patients with lung complications but without cardiovascular disease. However, physician consultation is needed before giving intervention. Further study of its effectiveness is required in these type of patients.  
ผู้เขียน
565090015-9 นาย อัษฎางค์ เนติศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 20 มิถุนายน 2559 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum