2012 ©
             EN, publication_detail
EN, publication_article
EN, publication_article_article_name ความรู้ด้านเนื้อหาของครูสำหรับการสอนเรขาคณิตระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 
EN, publication_article_accepted_date 24 August 2016 
EN, publication_article_journal
     EN, publication_article_journal_name วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
     EN, publication_article_journal_standard TCI 
     EN, publication_article_institute มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 
     EN, publication_article_isbn  
     EN, publication_article_year 14 
     EN, publication_article_issue 66 
     EN, publication_article_month กรกฎาคม-กันยายน
     EN, publication_article_print_year 2017 
     EN, publication_article_page  
     EN, publication_article_abstract การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้ด้านเนื้อหาของครูสำหรับการสอนเรขาคณิตระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือในการวิจัย นำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการบรรยายเชิงวิเคราะห์ กรณีศึกษาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักศึกษาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ทำการวิเคราะห์โพรโทคอล ตามกรอบแนวคิดความรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับการสอนของ Ball, Thames & Phelps. (2008, p. 399-403) ตามลำดับกระบวนการการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดตามแนวคิดของ Inprasitha (2010, p.154-161) ผลการวิจัยพบว่าในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 1) กรณีศึกษามีความรู้ด้านเนื้อหาทั่วไป คือสามารถบอกความหมายของส่วนของเส้นตรง เส้นตรง มุม และเส้นตั้งฉากได้ นอกจากนี้กรณีศึกษาสามารถอธิบายเกี่ยวสันตรง และสามารถอธิบายวิธีการใช้งานวงเวียนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสันตรงและวงเวียนเป็นเครื่องมือหลักที่ใช้ในจัดการเรียนรู้เรื่องพื้นฐานทางเรขาคณิต และกรณีศึกษาสามารถบอกลักษณะและคุณสมบัติของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยมได้ 2) กรณีศึกษามีความรู้ด้านเนื้อหาเฉพาะ คือสามารถบอกวิธีการสร้างส่วนของเส้นตรงให้มีขนาดเท่ากับส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้และสามารถบอกวิธีการแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้โดยใช้วงเวียนได้ สามารถบอกวิธีการสร้างมุมให้มีขนาดเท่ากับมุมที่กำหนดให้และสามารถบอกวิธีการแบ่งครึ่งมุมที่กำหนดให้โดยใช้วงเวียนได้ สามารถบอกวิธีการสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดที่อยู่ภายนอกและจุดบนเส้นตรงที่กำหนดให้โดยใช้วงเวียนได้ และยังนำความรู้ในส่วนนี้มาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้ 3) กรณีศึกษามีความรู้ด้านขอบเขตของเนื้อหา คือสามารถใช้วิธีการในการแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงโดยใช้วงเวียนเป็นพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การแบ่งมุมโดยใช้วงเวียน และวิธีการสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดที่อยู่ภายนอกและจุดบนเส้นตรงที่กำหนดให้โดยใช้วงเวียนได้ 
     EN, publication_article_keyword ความรู้ของครู, ความรู้ด้านเนื้อหา, เรขาคณิต, ชั้นเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด 
EN, publication_article_writer
565050269-2 Miss CHAMAIMAT WANGTONG [EN, publication_article_main_writer]
Education Master's Degree

EN, publication_article_evaluation มีผู้ประเมินอิสระ 
EN, publication_article_status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
EN, publication_article_level ชาติ 
EN, publication_article_citation EN, publication_article_citation_true 
EN, publication_article_part_of_thesis EN, publication_article_part_of_thesis_true 
EN, publication_article_part_of_graduate EN, publication_article_part_of_graduate_false 
EN, publication_attachment_file
Citation 0

<
forum