2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ทิศทางการขยายตัวของที่พักอาศัยประเภทบ้านแฝด โครงการบ้านเอื้ออาทรศิลา จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 24 มิถุนายน 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ สรรค์สาระสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ประจำปี 2559:VernAC-BEF 2016 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเซนทารา คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 24 มิถุนายน 2559 
     ถึง 24 มิถุนายน 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 119 
     Editors/edition/publisher หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา อ.เมือง จ.ขอนแก่น 
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่อยู่อาศัยประเภทบ้านแฝด โครงการ บ้านเอื้ออาทรศิลา จังหวัดขอนแก่น จากการคัดเลือกตัวอย่างบ้านแฝดที่มีการต่อเติมโดยผู้อยู่อาศัยพบว่าการต่อเติมขั้นแรกที่เกิดขึ้นเป็นการต่อเติมส่วนที่เจ้าของคิดว่ามีความจำเป็นมากที่สุดก่อนคือ พื้นที่ครัวในพื้นที่ด้านหลังบ้าน เนื่องจากพื้นที่ที่โครงการกำหนดนั้นไม่สามารถใช้เป็นพื้นที่ครัวได้อย่างสะดวก และอาจมีการปรับสภาพพื้นที่เว้นว่างเดิมด้วยการเทพื้นคอนกรีต การต่อเติมครั้งที่ 2 การต่อเติมมักจะสัมพันธ์กับพื้นที่ที่ได้ต่อเติมไปในครั้งแรก และมักใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ อาจเป็นการขยายพื้นที่ต่อเติมใหม่และพื้นที่อเนกประสงค์เดิมให้เชื่อมต่อกันหรือแยกจากกันเป็นสัดส่วนก็ได้ และการต่อเติมหลังจากครั้งที่ 2 เป็นต้นไป เป็นการต่อเติมในบริเวณพื้นที่ว่างที่เหลือ หรือการกั้นผนังในพื้นที่ที่ได้ต่อเติมไปแล้วก่อนหน้าให้เป็นพื้นที่ปิดล้อม ส่งผลให้มีความเป็นส่วนตัวและเป็นสัดส่วนมากขึ้น และพบได้ว่าทิศทางการขยายตัวที่เกิดขึ้นในบ้านแฝดเป็นการต่อเติมจากด้านหลังมาด้านหน้าตามพื้นที่ว่างภายนอกที่เหลือกจาก การต่อเติมแต่ละครั้ง และจากชั้นล่างขึ้นไปในแนวดิ่งในกรณีที่ต่อเติมจนไม่มีพื้นที่เว้นว่างโดยรอบอาคารเหลือ จากภาพรวมของการต่อเติมในแต่ละครั้งพบว่า รูปแบบร่วมของการต่อเติมคือการกำหนดพื้นที่ด้านหลังเป็นครัว และพื้นที่ด้านหน้าส่วนที่ตรงกับทางเข้าหลักถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ว่างอเนกประสงค์โดยรูปแบบที่แสดงออกทางกายภาพอาจเป็นพื้นที่แบบกึ่งภายนอก หรือแบบปิดล้อม โดยการต่อเติมแต่ละครั้งนั้นเป็นไปตามความสามารถทางการเงินของแต่ละครอบครัวในขณะนั้น และการเติบโตทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจภายในครอบครัว รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลง ทางโครงสร้างครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการต่อเติมครั้งที่ 2 และ 3 ตามมา เห็นได้ว่าการออกแบบบ้านแฝดในเบื้องต้นถูกออกแบบมาโดยการเผื่อพื้นที่ว่างเพื่อการใช้งานมากกว่าเน้นให้เกิดการต่อเติมเพื่อเพิ่มพื้นที่ อีกทั้งการต่อเติมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะในงานที่มีพื้นที่จำกัด และทางโครงการไม่อาจกำหนดรูปแบบการต่อเติมที่ชัดเจนให้ผู้อยู่อาศัยทำการต่อเติมให้เป็นไปตามที่วางไว้ได้ เนื่องจากความต้องการแต่ละครอบครัวไม่เท่ากัน หากแต่ทางโครงการบ้านเอื้ออาทรสามารถกำหนดทิศทางการต่อเติม โดยการเผื่อส่วนของโครงสร้างบางส่วนในตำแหน่งพื้นที่เว้นว่างภายนอกในระยะที่ต้องการควบคุมได้ไว้ตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ผู้อาศัยทำการต่อเติมเพิ่ม และจัดการพื้นที่ด้วยตนเองต่อได้ในอนาคต 
ผู้เขียน
555200010-8 น.ส. ณัฐวดี ทัศโนทัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0