2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article รูปแบบการสื่อสารสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น 
Date of Acceptance 7 October 2016 
Journal
     Title of Journal วารสารสารสนเทศศาสตร์ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สาขาวิชาสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 
     ISBN/ISSN  
     Volume 35 
     Issue
     Month มกราคม - มีนาคม
     Year of Publication 2017 
     Page  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลนครขอนแก่น การรับสารสนเทศของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น และเพื่อหารูปแบบการสื่อสารสารสนเทศของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่นตามแบบจำลองการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการเผยแพร่สารสนเทศแก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ที่สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 2 คน และผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยและมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสภาพการสื่อสารสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า ผู้ส่งสารหรือแหล่งสารของเทศบาลนครขอนแก่น คือ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และสำนักสวัสดิการสังคม เนื้อหาสารสนเทศที่สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมสื่อสารไปยังผู้สูงอายุ ได้แก่ สารสนเทศที่เกี่ยวกับสุขภาพพลานามัย เป็นต้น เนื้อหาสารสนเทศที่สำนักสวัสดิการสังคมสื่อสารไปยังผู้สูงอายุ ได้แก่ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และกิจกรรมของเทศบาลนครขอนแก่น เป็นต้น ส่วนช่องทางการสื่อสาร พบว่า ทั้งสองสำนักงานใช้ช่องทางการสื่อสารทั้ง 3 ช่องทาง ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจ ผลการวิจัยการรับสารสนเทศของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ด้านผู้ส่งสารหรือแหล่งสาร พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับสารสนเทศจากสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักสวัสดิการสังคม และโรงพยาบาลหรือศูนย์แพทย์ ด้านเนื้อหาสารสนเทศ พบว่า สารสนเทศที่ผู้สูงอายุรับ คือ 1) เนื้อหาสารสนเทศโดยทั่วไป ได้แก่ เนื้อหาด้านการแพทย์และการสาธารณสุข เนื้อหาด้านสวัสดิการสังคม และเนื้อหาด้านสังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ 2) เนื้อหาสารสนเทศตาม พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 มาตรา 11 พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับสารสนเทศในเรื่อง การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ด้านช่องทางการสื่อสาร พบว่า ผู้สูงอายุรับสารสนเทศจากสื่อบุคคลในระดับมาก รับสารสนเทศจากสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจในระดับน้อย รูปแบบการสื่อสารสารสนเทศที่เสนอแนะเป็นไปตามแบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่ดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ คือ ควรนำเสนอเนื้อหาสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุให้มากขึ้น ส่วนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรมีการศึกษารูปแบบการสื่อสารสารสนเทศของผู้สูงอายุในเขตชนบท 
     Keyword การสื่อสารสารสนเทศ ผู้สูงอายุ เทศบาลนครขอนแก่น 
Author
565080041-4 Mr. PANUWAT NIRANON [Main Author]
Humanities and Social Sciences Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0