ชื่อบทความ |
ประสิทธิภาพตลาดและการส่งผ่านราคาระหว่างตลาดยางพาราล่วงหน้า |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
21 ธันวาคม 2559 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ |
มาตรฐานของวารสาร |
|
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
45 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2560 |
หน้า |
84 |
บทคัดย่อ |
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพตลาดยางพาราล่วงหน้าในระดับที่ 1 โดยวิธี Autoregressive Distributed Lag (ARDL) Bound Test และศึกษาผลกระทบต่อราคายางพาราล่วงหน้าในตลาดแห่งหนึ่งหากเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคายางพาราล่วงหน้าในตลาดอื่น โดยวิธี Generalized Impulse Response Function (GI) ของ 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (TFEX) ประเทศสิงคโปร์ (SICOM) และประเทศญี่ปุ่น (TOCOM) ซึ่งใช้ข้อมูลราคาปิดรายสัปดาห์ 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงที่ 1 ก่อนเกิดวิกฤต เริ่มจากวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2547 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2550 จำนวน 188 ข้อมูล ช่วงที่ 2 หลังเกิดวิฤต เริ่มจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 ถึง 31ธันวาคม พ.ศ.2557 จำนวน 313 ข้อมูล และช่วงที่ 3 ก่อนและหลังวิกฤต เริ่มจาก 28 พฤษภาคม พ.ศ.2547 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2557 จำนวน 553 ข้อมูล ผลการทดสอบประสิทธิภาพตลาดและทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวของราคายางพาราล่วงหน้าทั้ง 3 พบว่า ราคายางพาราล่วงหน้าทั้ง 3 ช่วง มีประสิทธิภาพตลาดและมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว ยกเว้นในช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 ของตลาดประเทศไทยไม่มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวและไม่มีประสิทธิภาพตลาด ผลการศึกษาผลกระทบ พบว่า ช่วงที่ 1 ตลาดประเทศไทย (TFEX) ได้รับผลกระทบจากตลาดอื่นๆน้อยที่สุด ซึ่งแต่ละตลาดใช้เวลาเข้าสู่ภาวะปกติ 5-7 สัปดาห์ ช่วงที่ 2 และ3 ตลาดประเทศญี่ปุ่น (TOCOM) ได้รับผลกระทบจากตลาดอื่นๆน้อยที่สุด ซึ่งแต่ละตลาดใช้เวลาเข้าสู่ภาวะปกติ 6-9 สัปดาห์ |
คำสำคัญ |
ตลาดยางพาราล่วงหน้า,ประสิทธิภาพตลาด,ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว,การส่งผ่านราคา |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
5
|
|