2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ลูกผสมระหว่างไก่กระดูกดำและไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 โดยใช้ระบบการผสมพันธุ์แบบพบกันหมดภายในกลุ่ม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 มกราคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 0125-0485 
     ปีที่ 45 
     ฉบับที่
     เดือน เม.ย.-มิ.ย.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองลูกผสมระหว่างไก่กระดูกดำและไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 โดยศึกษาในไก่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไก่กระดูกดำสายพันธุ์จีน (CB) ไก่กระดูกดำสายพันธุ์ม้ง (HB) และไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 (TN) ใช้ระบบการผสมพันธุ์แบบพบกันหมดภายในกลุ่ม โดยได้ไก่คู่ผสมพันธุ์ทั้งหมด 9 คู่ผสมพันธุ์ ดังนี้ GCA-CBxCB, GCA-HBxHB, GCA-TNxTN, SCA-CBxHB, SCA-CBxTN, SCA-HBxTN, RCA-HBxCB, RCA-TNxCB และ RCA-TNxHB เก็บบันทึกข้อมูลน้ำหนักตัวที่อายุแรกเกิด 4, 8, 12 และ 14 สัปดาห์ ข้อมูลความยาวรอบอกที่อายุ 14 สัปดาห์ ข้อมูลการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน และข้อมูลอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว การวิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะการเจริญเติบโตใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด(least square means) ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวที่อายุ 14 สัปดาห์ ของไก่ลูกผสมที่เกิดจากการใช้ไก่พ่อแม่พันธุ์เป็นพันธุ์เดียวกันเรียงลำดับสูงสุดไปต่ำสุดเป็นดังนี้ GCA-CBxCB (1580.75 กรัม), GCA-TNxTN (1522.19 กรัม) และ GCA-HBxHB (1108.84 กรัม) ในขณะที่ไก่ลูกผสมที่ใช้พ่อและแม่พันธุ์ต่างสายพันธุ์พบค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวที่อายุ 14 สัปดาห์สูงสุดคือ SCA-CBxTN (1635.97 กรัม) และแม้สลับพันธุ์ไก่ระหว่างพ่อและแม่พันธุ์ยังพบว่าไก่ลูกผสม RCA-TNxCB (1599.66 กรัม) ยังมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวที่อายุ 14 สัปดาห์สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับไก่ลูกผสมพันธุ์อื่นๆ ผลดังกล่าวยังสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับค่าการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันซึ่งมีค่าสูงกว่าไก่ลูกผสมพันธุ์อื่น และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวซึ่งมีค่าต่ำกว่าไก่ลูกผสมพันธุ์อื่นเช่นกัน ผลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าไก่ลูกผสมระหว่างไก่กระดูกดำสายพันธุ์จีนและไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 มีศักยภาพด้านการเจริญเติบโตสูงสุด ดังนั้นไก่ลูกผสม SCA-CBxTN และ RCA-TNxCB จึงเหมาะสมเพื่อพัฒนาเป็นไก่ลูกผสมสำหรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรมต่อไป 
     คำสำคัญ ไก่กระดูกดำ, ไก่พื้นเมืองไทย, การเจริญเติบโต 
ผู้เขียน
565030021-0 น.ส. พิริยาภรณ์ สังขปรีชา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0