ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การศึกษาศักยภาพในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
10 มีนาคม 2560 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4 "งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ |
สถานที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ |
จังหวัด/รัฐ |
เพชรบูรณ์ |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
10 มีนาคม 2560 |
ถึง |
10 มีนาคม 2560 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
4 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
522-530 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาอาเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ และ การเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความสอดคล้องกัน โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการลงศึกษาพื้นที่ด้วยตนเอง และ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่มีบทบาทต่างๆในพื้นที่ คือ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคประชาชน กลุ่มภาคเอกชน และ นักท่องเที่ยว ซึ่งได้วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดขององค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้ง 4 ด้าน คือ องค์ประกอบด้านพื้นที่ องค์ประกอบด้านการจัดการ องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม
ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่อาเภอเวียงเก่านั้นมีทรัพยากรป่าไม้ที่สมบูรณ์เป็นป่าดิบแล้ง มีลักษณะธรณีสัณฐานและภูมิประเทศที่มีลักษณะพิเศษ (การค้นพบซากกระดูกไดโนเสาร์) เป็นภูเขาโอบล้อมพื้นที่ราบที่เป็นแหล่งชุมชนโดยมีการเรียกขานว่า “เวียงเก่าเมืองในหุบเขาดึกดาบรรพ์” โดยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นกระจายตัวอยู่โดยรอบอาเภอเวียงเก่า มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สาคัญคือ การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ การศึกษาเส้นทางธรรมชาติ การไหว้พระทาบุญ ดูนก พักค้างแรมในพื้นที่อุทยาน และมีการรวมกลุ่มจัดตั้งโฮมสเตย์ของชุมชนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนโฮมสเตย์ การท่องเที่ยวในพื้นที่ยังขาดการประสัมพันธ์ทาให้นักท่องเที่ยวไม่รู้ถึงสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ และ รูปแบบการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับพื้นที่และกิจกรรม เนื่องจากการจัดการการท่องเที่ยวของภาครัฐยังไม่จริงจังนัก ส่วนหนึ่งมาจากการขาดงบประมาณในการสนับสนุน และขาดการมีส่วนร่วมของชุมชน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|