Title of Article |
พลวัตของรูปแบบบ้านเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
Date of Acceptance |
17 October 2016 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
16854489 |
Volume |
15 |
Issue |
2 |
Month |
กรกฎาคม-ธันวาคม |
Year of Publication |
2016 |
Page |
1-16 |
Abstract |
าคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หรือ “ภาคอีสาน” เป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายของรูปแบบบ้านเรือน อันเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมในการปลูกสร้างบ้านเรือนของกลุ่มชนหลากชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานในภูมิภาค และการรับอิทธิพลรูปแบบบ้านเรือนจากภายนอกภูมิภาค บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบบ้านเรือนดังกล่าวในมิติสัมพันธ์กับพลวัตการเปลี่ยนแปลง โดยทำการศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ และการสำรวจภาคสนามในประเด็นเกี่ยวกับรูปแบบบ้านเรือนจากกลุ่มตัวอย่างชุมชนและสถานที่ จำนวน 35 แห่งทั่วภูมิภาค
ผลการศึกษาพบว่าการแสวงหาแหล่งตั้งถิ่นฐานอันอุดมสมบูรณ์ ภัยสงคราม การปฏิรูปการปกครองของรัฐชาติ และกระบวนการพัฒนาเป็นเมือง เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดพลวัตของรูปแบบบ้านเรือนในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา โดยสามารถจำแนกรูปแบบบ้านเรือนตามปัจจัยการก่อกำเนิดและลำดับเวลาได้ 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ เรือนพื้นถิ่นรูปแบบดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ (ปรากฏราวพุทธศตวรรษ 24 เป็นต้นมา) เรือนประยุกต์รูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก (ปรากฏราวพุทธทศวรรษ 2430-2480) เรือนประยุกต์รูปแบบเรือนอีสานและรูปแบบเรือนภาคกลาง (ปรากฏราวพุทธทศวรรษ 2480-2490) และเรือนรูปแบบร่วมสมัย (ปรากฏราวพุทธทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา) นอกจากนี้ รูปแบบบ้านเรือนที่ปรากฏก่อน พ.ศ. 2500 มีจำนวนลดลงอย่างรวดและถูกผลัดเปลี่ยนแทนที่ด้วยเรือนรูปแบบร่วมสมัย ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน หากไม่มีการตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของรูปแบบบ้านเรือนที่ปรากฏในแต่ละช่วงเวลาในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมของภูมิภาค กลุ่มบ้านเรือนดังกล่าวย่อมสูญหายไปตามกาลเวลา
|
Keyword |
พลวัต รูปแบบบ้านเรือน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ตีพิมพ์แล้ว |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|