ชื่อบทความ |
งานเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการปราบฮ่อในเอกสารไทยและลาว พ.ศ. 2411-2431 |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
5 เมษายน 2560 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
13 |
ฉบับที่ |
3 |
เดือน |
กันยายน-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2561 |
หน้า |
133 |
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
บทความนี้ มุ่งศึกษางานเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการปราบฮ่อในเอกสารไทยและลาว พ.ศ. 2411-2431 โดยใช้วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ ศึกษาจากเอกสารประเภท ใบบอก จดหมายเหตุ พงศาวดาร หนังสือ ฯลฯ ทั้งในไทยและลาวเป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า การที่ฮ่อเข้ามารุกรานดินแดนลาวที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของไทย ได้ก่อให้เกิดงานเขียนของชาวอังกฤษ ฝรั่งเศส ไทย และลาว ซึ่งชาวอังกฤษมองว่าฮ่อกลายเป็นปัญหาหนึ่งในการกระชับอำนาจของไทยในดินแดนลาว และมองว่าฝรั่งเศสใช้เหตุการณ์นี้เข้ามาขยายอิทธิพลในลาว ส่วนฮ่อในบันทึกของชาวฝรั่งเศส มองว่าไทยใช้เป็นข้ออ้างในการขยายอำนาจในลาว ซึ่งฝรั่งเศสมองว่าตนมีสิทธิในการครอบครองดินแดนลาวในฐานะเจ้าอาณานิคมของเวียดนาม ส่วนงานเขียนในเอกสารไทยพบว่า ในช่วงปราบฮ่อ พ.ศ. 2411-2431 ส่วนใหญ่เป็นเอกสารราชการ ใช้เป็นหลักฐานชั้นต้น ได้ส่งอิทธิพลต่องานเขียนในเวลาต่อมา และได้สะท้อนมุมมองของผู้ที่ไปปราบ เพื่อปกป้องดินแดนของตน และเพื่อแสดงสิทธิอันชอบธรรมในดินแดนลาว สำหรับงานเขียนในเอกสารลาวช่วงเดียวกันนี้ พบว่า เป็นงานเขียนประเภทพงศาวดารเมืองที่เกิดเหตุการณ์ฮ่อเข้ามารุกราน ถูกผลิตขึ้นเพื่อยื่นยันสิทธิอันชอบธรรมในการเป็นเจ้าประเทศราชของไทย
คำสำคัญ : งานเขียนประวัติศาสตร์, ฮ่อ, ไทย, ลาว, อังกฤษ, ฝรั่งเศส
|
คำสำคัญ |
งานเขียนประวัติศาสตร์, ฮ่อ, ไทย, ลาว, อังกฤษ, ฝรั่งเศส |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|