2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การก้าจัดแมงกานีสในน้าด้วยกระบวนการเติมโอโซนโดยใช้การออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken Design (BBD) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 ตุลาคม 2559 
การประชุม
     ชื่อการประชุม The 26th National Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Science Conference (TIChE2016) and The 6th International Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Science Conference (ITIChE2016) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม Chemical Engineering Department King Mongkut's University of Technology North Bangkok 
     สถานที่จัดประชุม Thailand Science Park Convention Center Bangkok, Thailand 
     จังหวัด/รัฐ Bangkok, Thailand 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 ตุลาคม 2559 
     ถึง 28 ตุลาคม 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 239 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือศึกษาความสัมพันธ์ในการกำจัดแมงกานีสที่ปนเปื้อนในน้ำด้วยการทำปฏิกิริยาออกซิเดชันในกระบวนการเติมโอโซน ซึ่งโอโซนจัดได้ว่าเป็นตัวออกซิไดซ์ที่มีรุนแรงและมีคุณภาพที่ดี โดยแมงกานีสสามารถเปลี่ยนรูปจากแมงกานีสไอออน (Mn2+) ในสารละลายไปเป็นตะกอนแมงกานีสไดออกไซด์ (MnO2) ซึ่งเป็นตะกอนสีน้ำตาลแดง เพื่อต้องการให้ความเข้มข้นของแมงกานีสลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม (0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร) สำหรับในการทดลองนี้ ได้ทำการศึกษาผลของปัจจัยต่างๆ เช่น ความเข้มข้นเริ่มต้นของแมงกานีส (5 10 และ 15 มิลลิกรัมต่อลิตร) ค่า pH เริ่มต้นของสารละลายแมงกานีส (3 4 และ 5) และผลของระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา (5 10 และ 15 นาที) โดยใช้การออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken Design (BBD) เพื่อศึกษาสภาวะที่มีความเหมาะสมต่อการกำจัดแมงกานีส และศึกษาผลความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัย สำหรับผลการวิเคราะห์ความสามารถของโอโซนที่ละลายในน้ำจากเครื่องผลิตโอโซนพบว่าปริมาณโอโซนในถังปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาในการป้อนโอโซนเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการเพิ่มเท่ากับ 2.194 มิลลิกรัมโอโซนต่อลิตรต่อนาที และพบว่าสามารถกำจัดแมงกานีสได้ 100% ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า pH เริ่มต้น 4 และระยะเวลาทำปฏิกิริยา 20 นาที ผลการศึกษาจากการออกแบบการทดลองพบว่าทุกปัจจัยที่ทำการศึกษาและผลของปัจจัยร่วมมีนัยสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์การกำจัดแมงกานีส และสุดท้ายเพื่อต้องการศึกษาการเปรียบเทียบผลของการมีและไม่มีตัวรองรับ จากการทดลองที่สภาวะที่ดีที่สุดพบว่าการมีตัวรองรับท้าให้ค่าเปอร์เซ็นต์การกำจัดแมงกานีสมีค่าสูงมากกว่าการไม่มีตัวรองรับในทุกเวลาในการทำปฏิกิริยา คำสำคัญ: แมงกานีส; ปฏิกิริยาออกซิเดชัน; โอโซน; Box-Behnken Design (BBD)  
ผู้เขียน
595040072-0 น.ส. สุนิสา จงดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล Oral Presentation Award 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล Chemical Engineering Department King Mongkut's University of Technology North Bangkok 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 28 ตุลาคม 2559 
แนบไฟล์
Citation 0