ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การก้าจัดแมงกานีสในน้าด้วยกระบวนการเติมโอโซนโดยใช้การออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken Design (BBD) |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
27 ตุลาคม 2559 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
The 26th National Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Science Conference (TIChE2016) and The 6th International Thai Institute of Chemical Engineering and Applied Science Conference (ITIChE2016) |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
Chemical Engineering Department King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
สถานที่จัดประชุม |
Thailand Science Park Convention Center Bangkok, Thailand |
จังหวัด/รัฐ |
Bangkok, Thailand |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
26 ตุลาคม 2559 |
ถึง |
28 ตุลาคม 2559 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
- |
Issue (เล่มที่) |
- |
หน้าที่พิมพ์ |
239 |
Editors/edition/publisher |
- |
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือศึกษาความสัมพันธ์ในการกำจัดแมงกานีสที่ปนเปื้อนในน้ำด้วยการทำปฏิกิริยาออกซิเดชันในกระบวนการเติมโอโซน ซึ่งโอโซนจัดได้ว่าเป็นตัวออกซิไดซ์ที่มีรุนแรงและมีคุณภาพที่ดี โดยแมงกานีสสามารถเปลี่ยนรูปจากแมงกานีสไอออน (Mn2+) ในสารละลายไปเป็นตะกอนแมงกานีสไดออกไซด์ (MnO2) ซึ่งเป็นตะกอนสีน้ำตาลแดง เพื่อต้องการให้ความเข้มข้นของแมงกานีสลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม (0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร) สำหรับในการทดลองนี้ ได้ทำการศึกษาผลของปัจจัยต่างๆ เช่น ความเข้มข้นเริ่มต้นของแมงกานีส (5 10 และ 15 มิลลิกรัมต่อลิตร) ค่า pH เริ่มต้นของสารละลายแมงกานีส (3 4 และ 5) และผลของระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา (5 10 และ 15 นาที) โดยใช้การออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken Design (BBD) เพื่อศึกษาสภาวะที่มีความเหมาะสมต่อการกำจัดแมงกานีส และศึกษาผลความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัย สำหรับผลการวิเคราะห์ความสามารถของโอโซนที่ละลายในน้ำจากเครื่องผลิตโอโซนพบว่าปริมาณโอโซนในถังปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาในการป้อนโอโซนเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการเพิ่มเท่ากับ 2.194 มิลลิกรัมโอโซนต่อลิตรต่อนาที และพบว่าสามารถกำจัดแมงกานีสได้ 100% ที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 15 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่า pH เริ่มต้น 4 และระยะเวลาทำปฏิกิริยา 20 นาที ผลการศึกษาจากการออกแบบการทดลองพบว่าทุกปัจจัยที่ทำการศึกษาและผลของปัจจัยร่วมมีนัยสำคัญต่อเปอร์เซ็นต์การกำจัดแมงกานีส และสุดท้ายเพื่อต้องการศึกษาการเปรียบเทียบผลของการมีและไม่มีตัวรองรับ จากการทดลองที่สภาวะที่ดีที่สุดพบว่าการมีตัวรองรับท้าให้ค่าเปอร์เซ็นต์การกำจัดแมงกานีสมีค่าสูงมากกว่าการไม่มีตัวรองรับในทุกเวลาในการทำปฏิกิริยา
คำสำคัญ: แมงกานีส; ปฏิกิริยาออกซิเดชัน; โอโซน; Box-Behnken Design (BBD)
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ได้รับรางวัล |
ชื่อรางวัล |
Oral Presentation Award |
ประเภทรางวัล |
รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ |
หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล |
Chemical Engineering Department King Mongkut's University of Technology North Bangkok |
วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล |
28 ตุลาคม 2559 |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|