2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินกิจกรรมการควบคุมภายในระบบสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษาธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดย่อม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ SMART ครั้งที่ 7 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยศิลปากร , มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ , มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 
     สถานที่จัดประชุม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 มิถุนายน 2560 
     ถึง 30 มิถุนายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 792-803 
     Editors/edition/publisher โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกิจกรรมการควบคุมภายในระบบสินค้าคงคลังและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบสินค้าคงคลังกรณีศึกษาธุรกิจโรงพิมพ์ขนาดย่อมแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นตามหลักกิจกรรมการควบคุมภายใน 5 กิจกรรม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานจำนวน 5 คนและการสังเกตการปฏิบัติงานและใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ร่วมกับแบบประเมินการควบคุมภายในในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ระบบสินค้าคงคลังของโรงพิมพ์มีกิจกรรมการควบคุมภายในที่ยังไม่เพียงพอ1) ด้านการรับวัสดุ ขาดการอนุมัติจากผู้มีอำนาจ และขาดการตรวจสอบเอกสารการรับสินค้าเข้าคลัง 2) ด้านการเบิกจ่ายวัสดุ ขาดการแบ่งแยกหน้าที่ผู้ควบคุมดูแลคลังสินค้าและผู้บันทึกบัญชีวัสดุขาดการตรวจสอบข้อมูลก่อนเบิกจ่ายสินค้าและไม่มีการจัดทำหลักฐานการเบิกวัสดุ3) ด้านการเก็บรักษาและควบคุมวัสดุ ขาดการตรวจสอบสภาพวัสดุในคลัง ขาดการจัดเก็บสินค้าที่เป็นระบบ และขาดเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลคลังสินค้า ดังนั้นโรงพิมพ์ควรมีการทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานในการเบิกจ่ายและดูแลคลังสินค้า ควรนำเอากิจกรรมการควบคุมภายในมาใช้ในการวางระบบการปฏิบัติงาน และควรมีระบบการจัดเก็บสินค้าที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการ  
ผู้เขียน
555210030-6 น.ส. ศศิมา สิมะโรจนา [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 1