ชื่อบทความ |
ปริมาณการกินได้ สมรรถนะในการให้ผลผลิตและความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมที่ได้รับการเสริมแร่ธาตุอินทรีย์รอง |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
15 มิถุนายน 2559 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารแก่นเกษตร |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
44 |
ฉบับที่ |
พิเศษ 2 |
เดือน |
มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2559 |
หน้า |
293-300 |
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมแร่ธาตุอินทรีย์รองต่อปริมาณการกินได้ สมรรถนะการให้ผลผลิตและความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนม ใช้โคนมก่อนคลอดพันธุ์ลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชี่ยน จำนวน 40 ตัว โดยสุ่มโคนมให้ได้รับทรีทเมนต์ คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริมแร่ธาตุอินทรีย์รองในอาหาร (Bioplex®) 5 กรัม/ตัว/วัน ช่วงก่อนคลอดและหลังคลอด ช่วงละ 21 วัน (OTM 42 days) จากนั้นโคนมได้รับการเหนี่ยวนำการตกไข่และผสมเทียมตามโปรแกรม Ovsynch ในวันที่ 60 หลังคลอด พบว่าปริมาณการกินได้ของสิ่งแห้ง คะแนนร่างกาย น้ำหนักตัว คะแนนการคลอดและปริมาณน้ำนมในโคนมหลังคลอดกลุ่ม OTM 42 days มากกว่ากลุ่มควบคุม (P < 0.05) อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของน้ำนมและร้อยละของการเกิดรกค้างของโคนมทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) ในขณะที่ระยะเวลาการขับรกในกลุ่มควบคุมนานกว่ากลุ่ม OTM 42 days (14.3 และ 6.2 ชั่วโมง; P < 0.05) วันที่ตกไข่กลุ่ม OTM 42 days เกิดเร็วกว่ากลุ่มควบคุม (19.9 และ 29.6 วัน; P < 0.05) และวันที่แสดงอาการเป็นสัดครั้งแรกกลุ่ม OTM 42 days เกิดเร็วกว่ากลุ่มควบคุม (37.5 และ 49.9 วัน; P < 0.05) นอกจากนี้ร้อยละของการเป็นสัดและขนาดของฟอลลิเคิลที่ตกไข่กลุ่ม OTM 42 days มากกว่ากลุ่มควบคุม (P < 0.05) อย่างไรก็ตามอัตราการผสมติดของโคนมทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) จากการศึกษาสรุปได้ว่าการเสริมแร่ธาตุอินทรีย์รองมีส่วนทำให้สมรรถนะการให้ผลผลิตและความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมดีขึ้น |
คำสำคัญ |
แร่ธาตุอินทรีย์รอง, ปริมาณการกินได้, สมรรถนะการให้ผลผลิต, ความสมบูรณ์พันธุ์, โคนม |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|