|
Publication
|
Title of Article |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียที่เป็นโรคประจำถิ่นในจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2558 |
Date of Acceptance |
30 June 2017 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารควบคุมโรค |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข |
ISBN/ISSN |
ISSN 1685-6481 |
Volume |
43 |
Issue |
4 |
Month |
ตุลาคม-ธันวาคม |
Year of Publication |
2017 |
Page |
- |
Abstract |
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียของประชาชนในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดราชบุรี จำนวน 440 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ติดเชื้อมาลาเรีย ในช่วงวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 และกลุ่มผู้ไม่ติดเชื้อมาลาเรีย จำนวนกลุ่มละ 220 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียด้วย Multiple conditional logistic regression และนำเสนอด้วยค่า OR และช่วงความเชื่อมั่น 95%
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อมาลาเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย (ORadj = 2.15, 95% CI: 1.052-4.408) การอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่า 16 ปี (ORadj = 2.96, 95% CI: 1.254-6.978) สถานที่ทำงานอยู่ในป่าหรือสวน และใกล้แหล่งน้ำ (ORadj = 4.06, 95% CI: 1.812-9.087) พฤติกรรมการไม่นอนในมุ้งหรือนอนเป็นบางครั้ง (ORadj = 2.39, 95% CI: 1.146-4.986) การพักค้างคืนในป่าหรือสวน และใกล้แหล่งน้ำ (ORadj = 3.45, 95% CI: 1.672-7.102) การไม่ฉีดพ่นสารเคมีตามผนังบ้าน (ORadj = 2.76, 95% CI: 1.118-6.821) และการขับถ่ายนอกบ้านหรือในป่าหรือสวน และใกล้แหล่งน้ำเป็นประจำ (ORadj = 3.47, 95% CI: 1.787-6.740) ส่วนความรู้และการรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการติดเชื้อมาลาเรีย (ORadj 1.70, 95% CI: 0.930-3.098) ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ควรมีการจัดระบบเฝ้าระวังเชิงรุก โดยให้ทีมเครือข่ายในระดับหมู่บ้านในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางเข้า-ออกประเทศพม่าหรือพักในพื้นที่เสี่ยง และสร้างสื่อให้ความรู้เรื่องโรคมาลาเรียเป็นภาษาท้องถิ่นร่วมกับการให้สุขศึกษาและการจัดบริการฉีดพ่นและมุ้งชุบสารเคมี อีกทั้งการส่งเสริมให้สร้างห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะและสนับสนุนการสร้างอาชีพในพื้นที่ด้วย |
Keyword |
การติดเชื้อมาลาเรีย, ปัจจัยเสี่ยง, โรคประจำถิ่น |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|
|
|
|
|
|