2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสามารถในการจาแนกของกล่องไม้ความสูง 1.7 ซม. ในการประเมินภาวะกระดูกสันหลังค่อม (Discriminative Ability of 1.7-cm Block for Kyphosis Measurement) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 10 มีนาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานานาติ 2560 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 10 มีนาคม 2560 
     ถึง 10 มีนาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2017 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 965-973 
     Editors/edition/publisher อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ กระดูกสันหลังค่อม คือภาวะที่กระดูกสันหลังส่วนอกมีมุมความโค้งมากกว่า 40 องศา ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ปัจจุบันวิธีการประเมินภาวะกระดูกสันหลังค่อมมีหลายวิธีซึ่งทุกวิธีจำเป็นต้องระบุ จุดอ้างอิงบนปุ่มกระดูกสันหลัง ยกเว้นวิธีกล่องไม้ความสูง 1.7 ซม. ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่ง่ายต่อการนำไปใช้ในชุมชน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจำแนกความรุนแรงของภาวะกระดูกสันหลังค่อมโดยใช้จำนวนกล่องไม้ความสูง 1.7 ซม. ในอาสาสมัครที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อม อายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็ น 3 กลุ่ม ตามระดับความรุนแรง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 (กล่องไม้จำนวน 1 กล่อง) กลุ่มที่ 2 (กล่องไม้จำนวน 2 กล่อง) และกลุ่มที่ 3 (กล่องไม้จำนวน 3 กล่อง) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ 1 มีมุมความโค้งของกระดูกสันหลังน้อยกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value<0.001) แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value=0.50) ระหว่างกลุ่มที่ 2 และ 3 ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าวิธีกล่องไม้ความสูง 1.7 ซม. เป็นวิธีอย่างง่ายในการคัดกรองภาวะกระดูกสันหลังค่อม โดยผู้ที่มีจำนวนกล่องไม้อย่างน้อย 2 กล่องอาจมีภาวะกระดูกสันหลังค่อมในระยะแรก (Kyphosis is an excessive thoracic spine curvature more than 40 degrees, which may affect adverse health complications. Currently, kyphosis can be measured using several methods which must be identified spinal bone land mark except 1.7-cm block. Thus this method is easy to apply in community setting. This study aimed to investigate discriminative ability of kyphosis severity using the number of 1.7-cm block in subjects with kyphosis, aged at least 10 years. Thirty subjects were divided into 3 groups depending on the severity including group 1 (1 block), group 2 (2 blocks), and group 3 (3 blocks). The finding showed that group 1 had significant different of kyphosis angle less than group 2 and group 3 (p-value<0.001). However, the comparison of kyphosis angle between group 2 and group 3 was no statistical significant difference (p-value=0.50). The findings suggested that the 1.7-cm block was a simple method for kyphosis screening in which people with the number of block at least 2 blocks may be an initial kyphosis.) 
ผู้เขียน
585090033-9 น.ส. พักตร์วิภา โชคภูเขียว [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ
577090004-9 น.ส. พัชรวรรณ สุวรรณรัตน์
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาเอก ภาคปกติ
585090037-1 น.ส. อาภัสนันท์ วิยะนัด
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล เป็นผู้ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับดี 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 10 มีนาคม 2560 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum