ชื่อบทความ |
ปัญหาในการควบคุมกำกับโฆษณาอาหารและยาทางสื่อวิทยุ
ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาค
|
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
6 มีนาคม 2560 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน (Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, IJPS) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,คณะเภสัชมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
ISBN/ISSN |
1905-0852 |
ปีที่ |
13 |
ฉบับที่ |
พิเศษ |
เดือน |
มกราคม-มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2560 |
หน้า |
601-613 |
บทคัดย่อ |
บทนำ: การโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมายทางสื่อวิทยุเป็นปัญหาสำคัญที่มีมาอย่างยาวนาน แม้ภาครัฐมีความพยายามในการจัดการปัญหา แต่โฆษณาที่ผิดกฎหมายยังคงพบได้ทั่วไป ผู้วิจัยจึงทำการวิจัยนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนภูมิภาคมีวิธีการกำกับโฆษณาอาหารและยา ที่ผิดกฎหมายอย่างไร อุปสรรคใดที่มีผลต่อการจัดการปัญหาโฆษณา วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกเภสัชกรที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จำนวน 14 คน ปฏิบัติงาน ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย: การกำกับโฆษณาอาหารและยาทางสื่อวิทยุของพนักงานเจ้าหน้าที่มี 4 วิธี ได้แก่ 1) มาตรการส่งเสริมและประสาน ความร่วมมือกับผู้ประกอบการ 2) มาตรการตรวจเฝ้าระวังและป้อมปราม 3) มาตรการบังคับใช้กฎหมาย 4) มาตรการประสานความร่วมมือกับเครือข่าย วิธีการดำเนินการเป็นไปตามบริบทของแต่ละจังหวัด การบังคับใช้กฎหมายมักใช้ในกรณีที่มาตรการอื่นใช้ไม่ได้ผลหรือเมื่อเกิดเรื่องร้องเรียน ปัญหาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมในการทำงาน คือ 1.1) การบริหารจัดการในภาพรวม 1.2) การประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในส่วนภูมิภาคยังไม่ชัดเจน 1.3) นโยบายของผู้บริหารที่ตนสังกัด 1.4) การดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอื่น 1.5) ปัจจัยด้านผู้ประกอบการ 1.6) งบประมาณ อุปกรณ์การตรวจสอบ 1.7) ข้อจำกัดของพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ 1.8) ความรู้ของผู้บริโภค 2) ปัจจัยภายในของพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้แก่ 2.1) การขาดความรู้ทักษะ 2.2) การไม่เห็นความสำคัญของปัญหา 2.3) แนวคิดในการใช้มาตรการป้อมปราม 2.4) ภาระงาน 2.5) ผลกระทบจากการดำเนินการ 3) ข้อจำกัดด้านกฎหมาย อาทิ 3.1) ความลักลั่นระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย 3.2) ช่องว่างทางกฎหมาย 3.3) อำนาจการบังคับใช้กฎหมาย 3.4) กฎหมายไม่เอื้ออำนวยต่อการบังคับใช้ สรุป: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ ใช้หลายมาตรการในการกำกับโฆษณาอาหารและยาทางสื่อวิทยุ ซึ่งพบว่ามีอุปสรรคและความยุ่งยากซับซ้อนในการจัดการ ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถทำความเข้าใจกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ และทบทวนหามาตรการที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการจัดการปัญหาโฆษณาอาหารและยาให้มีประสิทธิภาพต่อไป |
คำสำคัญ |
โฆษณา อาหารและยา วิทยุ พนักงานเจ้าหน้าที่ การคุ้มครองผู้บริโภค |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ตีพิมพ์แล้ว |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|