Title of Article |
ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเนือยนิ่งและภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
Date of Acceptance |
20 September 2017 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารสุขศึกษา |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
41 |
Issue |
1 |
Month |
มกราคม-มิถุนายน |
Year of Publication |
2018 |
Page |
|
Abstract |
ภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่เป็นสาเหตุคือ การที่เด็กมีพฤติกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อยหรือที่เรียกว่า ‘พฤติกรรมเนือยนิ่ง’ วัตถุประสงค์การศึกษานี้ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเนือยนิ่งกับภาวะโภชนาการของเด็กวัยรุ่น รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ศึกษาในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 304 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง ประกอบด้วยข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมเนือยนิ่ง (เวลาที่ใช้ในการทำการบ้านและเรียนพิเศษ และเวลาที่ใช้หน้าจอ) กิจกรรมทางกาย และความถี่การบริโภคอาหาร ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้ดัชนีมวลกายตามอายุเป็นเกณฑ์ โดยใช้โปรแกรม WHO AnthroPlus วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเนือยนิ่งกับภาวะโภชนาการโดยมีตัวแปรควบคุม ได้แก่ กิจกรรมทางกาย และการบริโภคอาหาร โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 61.5 มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ร้อยละ 22.0 และ 14.1 เวลาที่ใช้ในการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ย 11.6 ±3.7 ชั่วโมง/วัน โดยเวลาที่ใช้ทำการบ้านและเรียนพิเศษ และเวลาที่ใช้หน้าจอเฉลี่ย 5.7± 2.3 และ 5.9 ± 2.8 ชั่วโมง/วัน ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เวลาหน้าจอ ≥ 5 ชั่วโมง/วัน มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะอ้วน (adjusted OR = 2.03, 95% CI: 1.00-4.11) ปัจจัยอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะอ้วนได้แก่ การดูแลตนเอง (adjusted OR = 2.36, 95% CI: 1.20-4.64) การบริโภคอาหารทอด ≥ 4 ครั้ง/สัปดาห์ (adjusted OR = 2.58, 95% CI: 1.24-4.97) การดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ≥ 4 ครั้ง/สัปดาห์ มีความสัมพันธ์แบบผกผันกับภาวะอ้วน (adjusted OR = 0.40, 95% CI: 0.19-0.86) สรุปเด็กวัยรุ่นที่ใช้เวลาหน้าจอมากมีความเสี่ยงทำให้มีภาวะอ้วน ดังนั้นโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้เด็กใช้เวลาในการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น เพื่อลดเวลาหน้าจอลง และแนะนำให้เด็กลดการบริโภคอาหารทอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กที่ต้องดูแลตนเอง |
Keyword |
พฤติกรรมเนือยนิ่ง, ภาวะโภชนาการ, เด็กนักเรียน, การบริโภคอาหาร, กิจกรรมทางกาย |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
ชาติ |
citation |
true |
Part of thesis |
true |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|