2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงาน (SOFT SKILLS) ของครูผู้ช่วยในโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Indicators of Soft Skills for Assistant Teachers in Primary Schools in The Northeast of Thailand 
Date of Acceptance 29 September 2017 
Journal
     Title of Journal วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     Volume 12 
     Issue
     Month กรกฎาคม-กันยายน
     Year of Publication 2018 
     Page  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความสอดคล้อง ของโมเดลการวัดตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วย กับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก การสร้างและการพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วย วิเคราะห์จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจัดทำกรอบแนวคิดตัวบ่งชี้ และตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่สอง การตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้ช่วยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 830 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 560 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วย 7 องค์ประกอบหลัก 21 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม 6 ตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำ 6 ตัวบ่งชี้ จริยธรรมในการทำงาน 6 ตัวบ่งชี้ การติดต่อสื่อสาร 6 ตังบ่งชี้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 6 ตัวบ่งชี้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 6 ตัวบ่งชี้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ตัวบ่งชี้ ทั้งหมด 42 ตัวบ่งชี้ โดยโมเดลการวัดทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วยมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การกระจายมีความเหมาะสมตามเกณฑ์ คือ มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20 2. โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและการทำงานของครูผู้ช่วย ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าค่าไคว์สแคว์ (2) เท่ากับ 125.843 ค่าองศาอิสระ (Df) เท่ากับ 103 ค่า (P-Value) เท่ากับ 0.0627 ค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.020 ค่า (SRMR) เท่ากับ 0.029 ค่า (CFI) เท่ากับ 0.997 ค่า (TLI) เท่ากับ 0.994 
     Keyword Soft Skills, Assistant Teachers, Primary School, Teamwork, Leadership 
Author
585050173-7 Mr. ANAWAT JITRAK [Main Author]
Education Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0