ชื่อบทความ |
การศึกษาเปรียบเทียบวิธีแบบความน่าจะเป็นได้สูงที่สุด กับ วิธีแบบซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเมืองขอนแก่น
A Comparative Study of Applying Maximum Likelihood and Support Vector Machine Classifiers to Analyze Landsat Imagery for Evaluating Land Use Changes in Khon Kaen City, Thailand
|
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
28 กันยายน 2560 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
17 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม - ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2560 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
งานศึกษาวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะเปรียบเทียบความถูกต้องของตัวจำแนกระหว่างวิธีแบบความน่าจะเป็นได้สูงที่สุด (Maximum Likelihood Classifier, [MLC]) กับ วิธีแบบซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน (Support Vector Machine Classifier, [SVMC]) สำหรับการจำแนกข้อมูลภาพดาวเทียม Landsat เพื่อภารกิจวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ซึ่งมักจะเผชิญอยู่กับสภาวะจำนวนพื้นที่ตัวอย่าง (training area) ของภาพถ่ายของพื้นที่ของปีอดีตในช่วง 10-20 ปีก่อนที่มีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัดและมีจำนวนน้อย โดยอาศัยเมืองขอนแก่น ในช่วงปี พ.ศ.2533-2558 เป็นกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลภาพดาวเทียมแลนด์แซทหลายช่วงเวลา เพื่อจำแนกการใช้ที่ดินออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ พื้นที่ชุมชน (built-up area, [BU]) พื้นที่เกษตร (agriculture, [AG]) แหล่งน้ำ (water body, [WA]) พื้นที่ผสม (mixed-range land, [MX]) และพื้นที่ว่างเปล่า (bare land, [BA]) ผลการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า SVMC ยังคงทำงานได้ดีกว่า MLC โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ.2533 และ พ.ศ.2542 โดย SVMC แสดงประสิทธิภาพสูงกว่า MLC ดังจะเห็นได้จากค่า kappa index 0.9 ของ SVMC ที่ดีกว่า 0.5 ของ MLC อย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธี SVMC นั้นสามารถนำมาใช้จำแนกข้อมูลภาพดาวเทียมของปีอดีตที่จำนวนพื้นที่ตัวอย่างมีอยู่ค่อนข้างจำกัดได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ |
คำสำคัญ |
การขยายตัวของเมือง การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุม ตัวจำแนกแบบซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|