ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรกับวงเวียน
โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
20 ธันวาคม 2559 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การจัดงานประชุมทางวิชาการระดับชาติ เครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกาทั่วประเทศ ครั้งที่ 11 (RANC 2016 PROCEEDING) |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา |
สถานที่จัดประชุม |
อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
จังหวัด/รัฐ |
นครราชสีมา |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
19 ธันวาคม 2559 |
ถึง |
20 ธันวาคม 2559 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
11 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
294-302 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การปรับปรุงทางแยกเดิมเพื่อการแก้ปัญหาอุบัติเหตุและการจราจรติดขัดนั้นสามารถดำเนินการได้หลายมาตรการ โดยใช้ข้อมูลปริมาณจราจร ความเร็วเข้าสู่ทางแยก ความเร็วที่ทางแยก ความยาวแถวคอย เวลาในการเดินทาง และความถี่ของกระแสจราจร เป็นตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของทางแยก โดยสำรวจข้อมูลแยกตามประเภทของยานพาหนะ เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์กระบะบรรทุก รถบรรทุกหนัก และ รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น โดยการสำรวจปริมาณจราจรใน 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงเร่งด่วนเช้า ช่วงไม่เร่งด่วนเที่ยง และช่วงเร่งด่วนเย็น งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงทางแยกเดิมที่เปลี่ยนลักษณะทางกายภาพเดิมของทางแยกเดิม ที่เป็น ทางสามแยก สามจุดที่ใกล้กันที่มีระยะห่างกันแยกละ 65 เมตร เป็นทางแยกใหม่พร้อมปิดทางสามแยกหนึ่งจุด โดยใช้การจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาค ซึ่งใช้โปรแกรม TPV VISSIM Simulation โดยสร้างมาตรการในการศึกษาดังนี้ 1) มาตรการสภาพปัจจุบัน 2) มาตรการปรับปรุงทางแยกเป็นสี่แยก 3) มาตรการปรับปรุงทางแยกเป็นสี่แยกที่ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร และ 4) มาตรการปรับปรุงทางแยกเป็นวงเวียน กำหนดให้ยานพาหนะ 2 ประเภท คือ รถจักรยานยนต์ และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นยานพาหนะที่ใช้พิจารณาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทางแยก ในพื้นที่ศึกษากลุ่มทางแยกบริเวณลานจอดรถคณะวิศวกรรมศาสตร์ติดกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจำลอง เสนอให้ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจปรับปรุงทางแยกของพื้นที่ศึกษานี้ต่อไป |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|