Title of Article |
การเจริญสติกับโรคซึมเศร้า : มุมมองด้านสมองและประสาทวิทยาMindfulness Meditation and Depressive disorder: Brain and Neuroscience Perspective |
Date of Acceptance |
17 October 2017 |
Journal |
Title of Journal |
วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สสจ.กาฬสินธุ์ |
Standard |
TCI |
Institute of Journal |
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ |
ISBN/ISSN |
|
Volume |
11 |
Issue |
3 |
Month |
กันยายน-ธันวาคม |
Year of Publication |
2018 |
Page |
|
Abstract |
โรคซึมเศร้า (Depressive disorder) นอกจากจะถูกอธิบายด้วยปัจจัยสาเหตุด้านจิตใจแล้ว ยังสามารถอธิบายด้วยลักษณะทางกายภาพด้านโครงสร้างของสมองและประสาทวิทยาอีกด้วย กล่าวคือ แม้เราจะทราบกันมานานแล้วว่า ภาวะเครียดเรื้อรังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ แต่เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยเพิ่งจะมีหลักฐานสนับสนุนว่า ภาวะเครียดมีผลให้เซลประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสฝ่อและตายลง ไม่สามารถเป็นกลไกควบคุมแบบสะท้อนกลับไปยับยั้งปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียด (HPA axis) ได้ จึงเกิดการร่อยหรอของสารสื่อประสาทในสมองจนเกิดภาวะซึมเศร้า ข้อมูลนี้นำไปสู่การบำบัดภาวะซึมเศร้าด้วยการเจริญสติ ที่พบว่ามีผลในการปรับเปลี่ยนฟื้นฟูโครงสร้างสมอง (neuroplasticity) ให้สามารถเข้าสู่ภาวะสมดุลได้อีกครั้ง โดยสามารถช่วยให้มีการสร้างเซลประสาทเพิ่มขึ้น (neurogenesis) เกิดแขนงประสาท (dendrites) และกระบวนการหุ้มปลอกประสาท (myelination) ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการเชื่อมต่อ (connectivity ) และประสานประสาท (synapsis) เพิ่มมากขึ้นด้วย บทความนี้มีจุดมุ่งหมายนำเสนอองค์ความรู้ด้านสมองและประสาทวิทยาของภาวะซึมเศร้า และกลไกที่ทำให้เกิดการฟื้นฟูและปรับโครงสร้างหน้าที่ของสมองด้วยการเจริญสติ และข้อเสนอแนะสำหรับพยาบาลในการนำการเจริญสติไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า |
Keyword |
ภาวะซึมเศร้า , สมองมีความยืดหยุ่น, การเจริญสติ |
Author |
|
Reviewing Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Status |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
Level of Publication |
นานาชาติ |
citation |
false |
Part of thesis |
true |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|