2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายในบ้านเรือนกลุ่มผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลง: กรณีศึกษาหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 ธันวาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับนานาชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 45 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 ธันวาคม 2560 
     ถึง 3 ธันวาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 45 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 167 - 176 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบประเภท แหล่งจำหน่าย การใช้ การเก็บรักษา และการทำลายภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนกลุ่มผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ การประเมินความเสี่ยงจากข้อความบนฉลากตามกฎหมาย 3 ด้านได้แก่ความเสี่ยงจาการใช้ ความเสี่ยงจากการจัดเก็บ และความเสี่ยงจากการทำลายภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ครัวเรือนในการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงย้อนหลัง 3 เดือนที่ผ่านมา ผลจากการศึกษาทั้งหมด 56 หลังคาเรือน พบว่ามีครัวเรือนที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มป้องกันและกำจัดแมลงจำนวน 42 หลังคาเรือนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 75 พบผลิตภัณฑ์ 13 ประเภท ประเภทพบการใช้มากที่สุดคือชอล์คกำจัดมดและแมลงสาบ จำนวน 14 ครัวเรือน (ร้อยละ 25.0) และพบการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ ใช้สำหรับกำจัดมดและแมลงวัน แหล่งจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ใช้ในชุมชนมากที่สุดสามอันดับแรก พบว่า ร้านค้าชุมชนเป็นแหล่งจำหน่ายมากที่มีการซื้อมากที่สุดจำนวน 20 หลังคาเรือน (ร้อยละ 47.6) พบการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพจำนวน 2 ครัวเรือน (ร้อยละ 4.8) โดยเป็นการใช้ผลิตภัณฑ์ชอล์คกำจัดมดและแมลงสาบ โดยมีการใช้รอบอาหารทั้งสองครัวเรือน การเก็บรักษาที่เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งหมดจำนวน 26 ครัวเรือน (ร้อยละ 61.9) โดยเด็กสามารถหยิบจับได้โดยง่าย จำนวน 22 ครัวเรือน (ร้อยละ 52.4) และเก็บผลิตภัณฑ์ใกล้อาหารจำนวน 4 ครัวเรือน (ร้อยละ 9.5) และไม่พบความเสี่ยงจากการทำลายภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ การศึกษาสะท้อนสถานการณ์ 3 เดือนย้อนหลังเท่านั้น ซึ่งยังพบโอกาสที่จะเกิดอันตรายมากพอควรถ้าเก็บข้อมูลต่อเนื่องทุกฤดูกาลจะทราบถึงรูปแบบของปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลงซึ่งจะขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศและฤดูกาล อย่างไรก็ตามการศึกษานี้สามารถสร้างความตระหนักแก่ชุมชนเนื่องจากเป็นชุมชนขนาดเล็กสามารถสื่อสารกันอย่างทั่วถึง The purpose of this study was to examine the types and distribution sources of hazardous pesticide products in the household. Additionally, the three dimensions of risk derived from the law and the risk assessment on the product label namely, usage, storage, and product container disposal were assessed. This study then explored possible solutions to minimize such risks in consultation with relevant community members. Data collection was conducted through a household interview form on the use of pesticide products over the last three months. In all 56, households containing pesticide products were examined with 42 households (75%) found to possess 13 hazardous pesticide product types. The most frequently used type was ant and cockroach removal chalk (14 households, 25.0%). An unlabeled pesticide used for exterminating ants and flies was found in one household. The community shop was the most popular distribution source, 20 households (47.6%) purchased their hazardous items there. Generally, usage of pesticide products was safe but there were two households (4.8%) that used ant and cockroach removal chalk around food. Storage of hazardous products was not good, 26 households (61.9%) were at risk for health hazards due to improper product storage, 22 of these households (52.4%) kept products in reach of children, and 4 households (9.5%) kept products in close proximity to foods. There were no problems identified with container disposal. While this study only reflected the situation over three months, it uncovered a fair degree of danger to the community. If the data were consistently collected over a longer time, it could also identify patterns in the use of pesticide products which are weather and season dependent. This study provides an example of how to raise awareness of the proper treatment of hazardous household items in the community by taking advantage of the communication channels already present in small communities. 
ผู้เขียน
575150065-2 นาย นัฐพงษ์ ขันธรักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum