2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมด้านความเท่าเทียมทางคุณภาพการศึกษาของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน A PROPOSED POLICY FOR SOCIAL JUSTICE IN EQUALITY OF ACCESSTO QUALITY EDUCATION FOR BASIC EDUCATION STUDENTS IN RURAL AREAS IN THE NORTHEASTERN REGION UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION OF THAILAND 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 มกราคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1686-6916 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถนายน 2561
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงนโยบายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา สภาพการบริหารนโยบายและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมด้านความเท่าเทียมทางคุณภาพการศึกษาของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยมี 3 ระยะ 1) การสำรวจบริบทการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิจัยเอกสารการยืนยันองค์ประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สรุปเนื้อหา(content analysis) และพรรณนาเป็นความเรียง การสำรวจสภาพปัญหาจากกลุ่มตัวอย่าง ด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2)การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยจัดทำร่างและการประชุมปฏิบัติการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ ระยะที่ 3)การยืนยันข้อเสนอเชิงนโยบายโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพปัญหาพบว่า 1)ด้านคุณภาพครูอยู่ในระดับมากยกเว้นทักษะในการวิจัยคิดค้นและพัฒนา รูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตจริงและให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะการคิดอยู่ในระดับมากที่สุด 2)ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก 3)ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก ยกเว้นโรงเรียนมีระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนและการบริหารที่สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมากที่สุด 4)ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นโรงเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหาและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการศึกษาเต็มตามศักยภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด 5)ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก 6)ด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ยกเว้นนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด สภาพการบริหารนโยบายพบว่า 1)ด้านคุณภาพครู ยังขาดระบบการพัฒนาที่ได้ผลและเกิดประโยชน์ ต่อนักเรียนโดยตรง 2)ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ควรได้รับการสนับสนุนจากเขตพื้นที่การ ศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนาหลักสูตร 3)ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โรงเรียนในชนบทส่วนใหญ่ต้องแสวง หาการสนับสนุนเอง 4)ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรม ยังไม่เท่าเทียมในการจัดสรร 5)ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ยังไม่สามารถส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6)ด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ค่อนข้างต่ำเปรียบเทียบกับในเมืองและไม่มีการแก้ปัญหาเป็นรูปธรรม 2.ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมด้านความเท่าเทียมทางคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า (Inputs) 1.1)ด้านคุณภาพครู 12 เป้าหมาย 12 แนวทาง 12 กลไก 1.2) ด้านหลัก สูตรการเรียนการสอน 5 เป้าหมาย 5 แนวทาง 3 กลไก 1.3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มี 2 เป้าหมาย 2 แนวทาง 2 กลไก 1.4) ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรม มี 5 เป้าหมาย 5 แนวทาง 5 กลไก 2) ด้านกระบวนการ (Processes) ได้แก่ 2.1) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน มี 2 เป้าหมาย 3 แนวทาง 2 กลไก 3) ด้านผลลัพธ์ (Outputs) ได้แก่ 3.1) ด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน 4 เป้าหมาย 4 แนวทาง 3 กลไก  
     คำสำคัญ ข้อเสนอเชิงนโยบาย,ความเป็นธรรมทางสังคม, ความเท่าเทียมทางคุณภาพการศึกษา 
ผู้เขียน
567050037-7 ว่าที่ ร.อ. ทิณกรณ์ ภูโทถ้ำ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum