ชื่อบทความ |
การศึกษาทางไฟฟ้าเคมีของสังกะสีแอโนดที่มีจีโอโพลิเมอร์เป็นวัสดุเชื่อมประสาน |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
23 มกราคม 2561 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วิศวสารลาดกระบัง |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะวิศวกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
34 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2561 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางไฟฟ้าเคมีของวัสดุจีโอโพลิเมอร์ที่ใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานในขั้วสังกะสี แอโนด โดยใช้เถ้าลอยเป็นวัสดุตั้งต้นของจีโอโพลิเมอร์ และมีโซเดียมซิลิเกตและโซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวกระตุ้น ผล การทดสอบทางไฟฟ้าเคมีของตัวอย่างขั้วสังกะสีแอโนดโดยเทคนิค cyclic voltammetry 90 รอบในสารละลายโซเดียมไฮดร อกไซด์ที่ความเข้มข้น 4 โมลาร์ พบว่าขั้วสังกะสีแอโนดที่มีความหนา 4 มิลลิเมตรและมีสัดส่วนจีโอโพลิเมอร์ต่อสังกะสี เท่ากับ 32.5 : 6, 32.5 : 9 และ 32.5 : 12 แทบจะไม่แสดงการเกิดปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มสัดส่วนของ สังกะสีต่อวัสดุจีโอโพลิเมอร์มีแนวโน้มทําให้มีพื้นที่ผิวสําหรับทําปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมีกับสารละลายอิเล็กโทรไลต์ได้มาก ขึ้น หลังจากการใช้งานขั้วสังกะสีแอโนดพบว่าลักษณะรูปร่างอสัณฐานที่ได้จากการวิเคราะห์ผล SEM ของขั้วสังกะสี แอโนดที่มีสัดส่วนจีโอโพลิเมอร์ต่อสังกะสีเท่ากับ 32.5 : 12 เกิดเปลี่ยนแปลง และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนระหว่างสังกะสี ต่อจีโอโพลีเมอร์อาจส่งผลต่อการเกิดเดรนไดร์ตที่มากขึ้น |
คำสำคัญ |
สังกะสีแอโนด, จีโอโพลีเมอร์, วัสดุเชื่อมประสาน, เถ้าลอย |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|