2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title The correlation between energy expenditure during physical activity and anthropometry, body composition and peak oxygen consumption in dyslipidemia subjects. 
Date of Distribution 17 November 2015 
Conference
     Title of the Conference 1st National Conference on Physical Activity “Active Living for All” 
     Organiser ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ Physical activity 
     Conference Place At Queen Sirikit National Convention Center. 
     Province/State Bangkok, Thailand 
     Conference Date 17 November 2015 
     To 18 November 2015 
Proceeding Paper
     Volume 17-18 November,2015 
     Issue 17-18 November,2015 
     Page 107 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณพลังงานที่ใช้ขณะมีกิจกรรมทางกายกับส่วนประกอบและโครงสร้างของร่างกายและความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดขณะออกกำลังกาย ในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ วิธีการศึกษา: อาสาสมัครที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ จำนวน 15 ราย (เพศหญิง 12 ราย, เพศชาย 3 ราย อายุเฉลี่ย 49.2 ± 4.3 ปี) อาสาสมัครถูกวัดปริมาณพลังงานที่ใช้ขณะมีกิจกรรมทางกายโดยใช้ฐานของมูลของกิจกรรมทางกาย Compedium of physical activities ปี 2000 และ 2011 และได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด หลังงดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมงหลังเที่ยงคืนเพื่อยืนยันระดับไขมันในเลือด และถูกวัดส่วนประกอบของร่างกาย โดยเครื่องเอกซเรย์ DEXA โครงสร้างของร่างกายโดยเครื่องวัดส่วนสูงและน้ำหนักตัว นอกจากนี้อาสาสมัครถูกคำนวณค่าความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดจากการปั่นจักรยานที่ระดับความหนัก ร้อยละ 85 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ข้อมูลนำเสนอเป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันถูกคำนวณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาณพลังงานที่ใช้ขณะมีกิจกรรมทางกายกับส่วนประกอบของร่างกายและความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05 ข้อค้นพบ: ไขมันรวมโคเลสเตอรอลเท่ากับ 200.5 ± 29.6 มก/ดล ไตรกลีเซอร์ไรด์เท่ากับ 175.9 ± 78.0 มก/ดล แอลดีแอลโคเลสเตอรอลเท่ากับ 126.4 ± 28.2 มก/ดล เอชดีแอลโคเลสเตอรอลเท่ากับ 50.4 ± 16.2 มก/ดล และระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 90.6 ± 19.5 มก/ดล บ่งชี้ว่าอาสาสมัครเป็นกลุ่มที่เริ่มมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ตามเกณฑ์ของ AACE lipid guidelines 2012 ปริมาณพลังงานที่ใช้ขณะมีกิจกรรมทางกาย (1344.6 ± 93.9 กิโลแคลอรี) มีความสัมพันธ์กับร้อยละปริมาณไขมันในร่างกาย (39.0 ± 8.05 %) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ 0.6 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05 มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย (27.2 ± 3.55 กก./ม2) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ 0.83 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 และมีความสัมพันธ์กับมวลกาย (24.9 ± 6.80 กก.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ 0.92 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 นอกจากนี้ยังพบว่าความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด (v̇o2,peak) (38.2 ± 10.3 มล/กก.น้ำหนักกล้ามเนื้อ/นาที) ขณะออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับร้อยละปริมาณไขมันในร่างกาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ -0.6 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05 ข้อเสนอแนะ: ข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณพลังงานที่ใช้ขณะมีกิจกรรมทางกาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับร้อยละของปริมาณไขมันในร่างกาย มวลกายและดัชนีมวลกาย นอกจากนี้ร้อยละของปริมาณไขมันในร่างกายมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ผลของการศึกษานี้สามารถนำไปปรับใช้ในการพยากรณ์ความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติชาวไทยได้ คำสำคัญ การออกกำลังกาย ดัชนีมวลกาย มวลกล้ามเนื้อ ความสามารถในการใช้ออกซิเจน ไขมันในเลือด ABSTRACT PURPOSE: To investigate correlation between energy expenditure (EE) during physical activity, and anthropometry, body composition and peak oxygen consumption during exercise in dyslipidemia subject. METHODOLOGY: Fifteen dyslipidemia subjects (12 women and 3 men, aged 49.2 ± 4.3 years) All subjects were measured EE by Compedium of physical activities; activity code 2000 and 2011. They were collected blood samples after 12 hours overnight fast to measure lipid profiles and fasting blood glucose. Total body composition, percent body fat and lean body mass (LBM) were measured by DEXA. Moreover, all subject were determined peak oxygen consumption at 85% of maximum heart rate (HR max) by leg cycling. The data were expressed as mean ± SD. Pearson’s correlation coefficients were calculated and used to test the significant the linear relationship between energy expenditure during physical activity, anthropometry, body composition and peak oxygen consumptions. The correlation is significant at p < 0.05. FINDING: Total cholesterol = 200.47 ± 29.63 mg/dL, Triglycerides = 175.9 ± 78.0 mg/dL, LDL-cholesterol = 126.4 ± 28.23 mg/dL, HDL-cholesterol = 50.4 ± 16.2 mg/dL and Fasting blood glucose = 90.6 ± 19.5 mg/dL. The abnormal lipid profiles of these subjects indicated borderline high risk of cardiovascular disease ( AACE lipid guidelines 2012). The significant relationships were found between energy expenditure during physical activity (1344.6 ± 93.9 kcal), and percent of body fat (39.0 ± 8.05 %), body mass index ;BMI (27.2 ± 3.55 kg/m2)) and fat mass (24.9 ± 6.80 kg), (r = 0.60, p < 0.05; r = 0.83, p < 0.01 r and = 0.92, p < 0.01, respectively). However, we found the significant negative relationship between peak oxygen consumption (38.2 ± 10.30 ml/kgLBM/min) and percent of body fat (r = - 0.60, p < 0.05). RECOMMENDATION: The data demonstrated that energy expenditure during physical activity had positive relationships with percent of body fat, fat mass, and BMI. However, percent of body fat had negative relationship with peak oxygen consumption. The results can be implicated to predict risk of cardiovascular disease in Thai dyslipidemia individuals. Keywords: exercise, body mass index, fat mass, aerobic capacity, lipid profiles  
Author
547100025-5 Miss NANTAYA KRASUAYTHONG [Main Author]
Graduate School Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum