2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ดนตรีเขมร : รากฐานทรัพยากรทางวัฒนธรรมกับการอนุรักษ์ (Khmer Music: The Foundation of Cultural Resources and Conservation)  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 29 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร กระแสวัฒนธรรม (CULTURAL APPROACH)  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 22 
     ฉบับที่ 41 
     เดือน มกราคม - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2564 
     หน้า
     บทคัดย่อ ประเทศกัมพูชามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานร้อยผ่านเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มากมาย สังคมกัมพูชามีความผูกพันกับดนตรีมาตั้งแต่อดีต ดนตรีถูกนามาใช้เป็นเครื่องมือทางสังคม ใช้ตอบสนองสังคมในรูปแบบต่างๆ กลายเป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมที่สาคัญ ถึงแม้กัมพูชายังมีบาดแผลทางประวัติศาสตร์ค่อนข้างมาก รวมทั้งการสูญเสียผลงานทางศิลปะในช่วงยุคตกต่าที่สุดของกัมพูชา ซึ่งดนตรีกัมพูชาได้กลับมามีบทบาทและถูกรื้นฟืนขึ้นมาใหม่ และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน ดนตรีจึงกลายเป็นสื่อประชาสัมพันธ์และเป็นตัวสะท้อนภาพทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง จากผลการศึกษาดนตรีเขมร พบว่าดนตรีเขมรสามารถแบ่งประเภทออกเป็น 2 ประเภทคือ ดนตรีในราชสานักและดนตรีพื้นบ้าน “ปินเปียด” วงดนตรีที่ถือว่าเป็นวงดนตรีขั้นสูงของกัมพูชา ซึ่งจากเดิมมีเล่นเฉพาะเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ หรือในราชสานัก แต่ปัจจุบันถูกนามาเล่นอย่างแพร่หลายตามภูมิภาค ส่วนดนตรีพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมมาก คือ เพลงการ์ ดนตรีประกอบพิธีสมรสของชาวเขมร ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต ดนตรีเขมรจึงกลายเป็นทรัพยากรที่สาคัญของประเทศ กัมพูชาพยายามสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมขึ้นหลังจากโดนผลกระทบทางด้านความมั่นคงในอดีตก่อให้เกิดยุคแห่งความตกต่าเสื่อมโทรมของศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบันกัมพูชาใช้ศิลปะเป็นสื่อในการถ่ายทอดเรื่องราว ให้สังคมโลกรับรู้ นโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมถูกนามาเป็นประเด็ดในการนามาพัฒนาประเทศ ในด้านผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ดนตรีดั้งเดิมของเขมรถูกถ่ายทอดพร้อมกับระบาโบราณผ่านสื่อโฆษณาต่างๆ ในขณะที่รัฐบาลกัมพูชาให้ความสาคัญต่อศิลปะอันเป็นมรดกของชาติ แต่ยังขาดเม็ดเงินในการสนับสนุนอย่างเป็นจริงเป็นจริง ปัจจุบันอาศัยเอกชนในการเข้ามาบทบาทร่วมอนุรักษ์ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ศิลปะของชาติให้เป็นที่รู้จักในสายตาชาวโลก 
     คำสำคัญ ดนตรีเขมร, วัฒนธรรม, การอนุรักษ์ 
ผู้เขียน
597220013-8 นาย นพพล ไชยสน [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0