2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แสงสว่างสำหรับห้องเรียนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 4 (BTAC2017) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 352 
     Editors/edition/publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ การศึกษางานวิจัยนี้เน้นศึกษาแนวทางค่าปริมาณแสงสว่างที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งานในห้องเรียนสมัยใหม่ โดยจะศึกษาปริมาณแสงสว่างในห้องเรียนภายใต้แสงประดิษฐ์ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบหรือปรับปรุงแสงสว่างในห้องเรียน โดยใช้วิธีการสำรวจเก็บข้อมูลจากห้องเรียนบรรยายคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และแบ่งประเภทห้องเรียนในการสำรวจออกเป็น 3 ขนาด ตามความจุของห้อง คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยศึกษาเก็บข้อมูลสำรวจดังนี้ ลักษณะทางกายของห้องเรียน ชนิดของหลอดไฟและตำแหน่งดวงโคม ลักษณะการใช้งานห้องเรียน และค่าปริมาณแสงสว่างในห้องเรียน แล้วนำผลค่าเฉลี่ยมาเปรียบกับค่ามาตรฐานแสงสว่างที่มีอยู่ในปัจจุบัน จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณแสงสว่างภายในห้องเรียนทั้ง 3 ขนาด ที่มาจากการสำรวจห้องเรียนตัวอย่าง ค่าเฉลี่ยรวมปริมาณแสงสว่างแสงประดิษฐ์และแสงธรรมชาติ ส่วนมากจะมีค่าปริมาณแสงสว่างที่เพียงพอและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ที่ได้กำหนดปริมาณแสงสว่างของห้องเรียนไว้ 300 Lux แต่ในการใช้งานห้องเรียนจริงมีการใช้เครื่องฉายภาพ ทำให้จำเป็นต้องควบคุมปริมาณแสงสว่างในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามาถมองเห็นกระดานได้อย่างสบายตา และสามารถอ่านและเขียนหนังสือได้เมื่อมีการฉายจอภาพ ดังนั้นการออกแบบแสงสว่างในห้องเรียนควรคำนึงถึง ตำแหน่งการวางผังโคมไฟและการออกแบบการเปิด- ปิดโคมไฟ ต้องมีการแบ่งผังไฟในส่วนของบริเวณการสอนออก จากผังไฟรวม เพื่อที่จะทำให้ควบคุมปริมาณแสงสว่างในการเรียนการสอนได้  
ผู้เขียน
565200008-6 น.ส. ศิรินภา จันทรโคตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0