2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura))โรคใบขาวอ้อย 
Date of Distribution 29 January 2018 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 19  
     Organiser คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 29 January 2018 
     To 30 January 2018 
Proceeding Paper
     Volume 46 
     Issue ฉบับพิเศษ 1 (2561) 
     Page 31 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract เพลี้ยจักจั่น (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) เป็นแมลงพาหะนำเชื้อไฟโตพลาสมาโรคใบขาวอ้อย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยสายที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ พบว่า แมลงที่ดูดกินต้นอ้อยรูปทรงพุ่มและลำต้นเดี่ยวพันธุ์ขอนแก่น 3 ไม่มีผลความแตกต่างต่อการเจริญเติบโตของแมลง ส่วนแมลงพาหะที่ดูดกินบนรูปร่างสัณฐานของอ้อย 6 สายพันธุ์ (ขอนแก่น 3, Q229, UT17, UT13 และอ้อยป่า (Saccharum spontaneum; (ThS98-185) และอ้อยป่าพันธุ์ Erianthus spp; (ThE10-6)) พบว่าแมลงที่ดูดกินบนอ้อยป่า ThS98-185 มีการรอดชีวิตมากที่สุด 85%, รองมาคือพันธุ์ขอนแก่น 3, UT13, UT17, Q229 และ ThE10-6 มีการรอดชีวิต 75%, 62.50%, 45%, 37.50% และ ไม่มีการรอดชีวิต ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการวัดระยะเวลาการดูดกินในชั้นท่ออาหาร (phloem) พบว่าแมลงชอบดูดกินมากบน อ้อยป่า ThS98-185 และ พันธุ์ขอนแก่น 3 ไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีระยะเวลาการดูดกินเฉลี่ยนานที่สุด 8.62±1.04 และ 8.50±1.00 นาที และ จำนวนความถี่ในการดูดกินมาก 42.21±7.20 และ 40.94±3.48 ครั้ง ตามลำดับ ตรงข้ามกับอ้อยป่าพันธุ์ ThE10-6 และพันธุ์ Q229 ที่มีลำต้นแข็งและแมลงไม่ชอบดูดกิน โดยมีระยะเวลาการดูดกินเฉลี่ยน้อย 2.42±0.10 และ 3.92±0.42 นาที และ จำนวนความถี่ในการดูดกินน้อยเช่นกัน 26.96±2.86 และ 27.60±2.33 ครั้ง ตามลำดับ ส่วนพันธุ์ UT17 และ UT13 แมลงมีการรอดชีวิต และการชอบในการดูดกินในระดับปานกลาง ดังนั้นการศึกษานี้สามารถนำลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยที่มีความทนทานต่อการเจริญเติบโตและการดูดกินของแมลงไปใช้เป็นแนวทางปรับปรุงพันธุกรรมของอ้อยเพื่อลดการระบาดของแมลงพาหะและโรคใบขาวได้อย่างยั่งยืน 
Author
595030004-3 Miss SUNISA SUNTHON [Main Author]
Agriculture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title รางวัลระดับดีเด่น ในการนำเสนอแบบบรรยาย ประเภทนักศึกษา 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Date of awarding 30 มกราคม 2561 
Attach file
Citation 0

<
forum