2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ประสิทธิภาพของเชื้อราเอนโดไฟต์และสารเคมีต่อการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคข้าว (Oryza sativa L.) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 พฤศจิกายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 13 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเรือรัษฏา 
     จังหวัด/รัฐ ตรัง 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 พฤศจิกายน 2560 
     ถึง 23 พฤศจิกายน 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 13 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 662-674 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ โรคข้าวที่เกิดจากเชื้อราเป็นปัญหาที่สาคัญของการผลิตข้าว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ ประสิทธิภาพของเชื้อราเอนโดไฟต์และสารเคมีป้องกันกาจัดเชื้อราต่อการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคของข้าว (Oryza sativa L.) จานวน 7 ชนิด ได้แก่ Curvularia lunata, Bipolaris oryzae, Alternaria padwickii, Fusarium sp., Sarocladium oryzae, Rhizoctonia solani และ Magnaporthe oryzae การทดสอบ ประสิทธิภาพของราเอนโดไฟต์ด้วยวิธี dual culture technique พบว่า เชื้อราเอนโดไฟต์ Trichoderma harzianum GR03, T. ghanense GR06 และ Daldinia eschscholzii FL11 มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง เชื้อสาเหตุโรคข้าวได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งที่ 14 วัน อยู่ในช่วง 85–100, 46–100 และ 61–100 % ตามลาดับ โดย D. eschscholzii FL11 มีกิจกรรมการยับยั้งแบบปรสิตบางส่วนต่อเชื้อรา A. padwickii, Fusarium sp. และ R. solani และแบบปรสิตสมบูรณ์ต่อเชื้อรา C. lunata, B. oryzae, S. oryzae และ M. oryzae การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกาจัดเชื้อราจานวน 5 ชนิด ได้แก่ mancozeb, benomyl, tebuconazole + trifloxystrobin, propiconazole + difenoconazole และ azoxystrobin + difenoconazole ด้วยวิธี poisoned food technique พบว่า tebuconazole + trifloxystrobin สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคข้าวได้ทุกชนิด (100%) นอกจากนี้เชื้อราเอนโดไฟต์ T. harzianum GR03, T. ghanense GR06 และ D. eschscholzii FL11 สามารถเจริญบนอาหารที่ผสมสารเคมี mancozeb ได้ 100, 73 และ 19% ตามลาดับ จากการศึกษาการส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้าข้าวด้วยวิธี blotter test พบว่า เมล็ดที่แช่สปอร์แขวนลอย T. harzianum GR03, T. ghanense GR06 และ D. eschscholzii FL11 สามารถเพิ่มความยาวราก ความสูงลาต้น และดัชนีความแข็งแรงของต้นกล้าข้าวอย่างมี นัยสาคัญ (P < 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม 
ผู้เขียน
565030038-3 น.ส. กานต์ จิตสุวรรณรักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0