ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การวัดความหนาของกระดูกและเหงือกด้านบัคคัลบริเวณฟันหน้าบนโดยใช้
โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี
|
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
5 พฤษภาคม 2561 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
สถานที่จัดประชุม |
ห้องประชุุมกิจจาทร 1 อาคารปิยมหาราช มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร |
จังหวัด/รัฐ |
|
ช่วงวันที่จัดประชุม |
5 พฤษภาคม 2561 |
ถึง |
5 พฤษภาคม 2561 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
14 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
454-465 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การประเมินความหนาของกระดูกและเหงือกทางด้านบัคคัลมีความสำคัญมากต่อการวางแผนการรักษาทางทันตกรรม ซึ่งปัจจุบันโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงถูกนำมาใช้ในงานทันตกรรมอย่างแพร่หลาย สามารถใช้ประเมินวัดค่าความหนาของกระดูกและเหงือกได้ ในการศึกษานี้ได้ทำการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่าง ถ่ายภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี 24 ภาพ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ภาพ ตามการจำแนกไบโอไทป์ของเหงือกเป็นแบบหนาและแบบบางตามลักษณะที่ปรากฏทางช่องปาก และทำการประเมินความหนาของกระดูกและเหงือกทางด้านบัคคัลในตำแหน่งฟันหน้าบน รวมทั้งทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความหนาของกระดูกและเหงือกทางด้านบัคคัลในฟันหน้าบนดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยรวมความหนาของเหงือกทางด้านบัคคัลของฟันหน้าบนหกซี่ ในกลุ่มที่ถูกจำแนกไบโอไทป์ของเหงือกเป็นแบบหนาและแบบบางพบเป็น 0.95±0.13 และ 1.02±0.15 มิลลิเมตร ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยรวมความหนาของกระดูกทางด้านบัคคัลของฟันหน้าบนหกซี่ ในกลุ่มที่ถูกจำแนกไบโอไทป์ของเหงือกเป็นแบบหนาและแบบบางพบเป็น 1.09±0.39 และ 0.79±0.17 มิลลิเมตร ตามลำดับ ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ดังนั้น การประเมินความหนาของกระดูกและเหงือกทางด้านบัคคัลโดยอาศัยเกณฑ์การจำแนกไบโอไทป์ของเหงือกจากรูปร่างฟันและเหงือกที่ปรากฏทางช่องปากเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอที่จะกำหนดความหนาที่แท้จริงของเหงือกในทั้งสองกลุ่ม ได้อย่างชัดเจน การใช้โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยประเมินความหนาของกระดูกและเหงือกในการวางแผนการรักษาทางทันตกรรมในฟันหน้าได้ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
20
|
|