2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาอุปกรณ์ก่อแรงดันบวกแบบใหม่สำหรับการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ครั้งที่ 8 เรื่อง งานบริการกายภาพบำบัดและการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 มิถุนายน 2559 
     ถึง 23 มิถุนายน 2559 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 94 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ: การให้แรงดันบวกขณะหายใจออก (positive expiratory pressure, PEP) ในทางกายภาพบำบัดมีเป้าหมายเพื่อลดหรือเปิดทางเดินหายใจที่ตีบแคบ เพิ่มการระบายเสมหะ ลดอาการหอบเหนื่อยจากพลวัตการโป่งพองของปอด (dynamic hyperinflation) ขณะออกกำลังกายในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง อุปกรณ์ PEP ในท้องตลาดและในบทความวิจัยโดยมากไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ขณะออกกำลังกาย ทั้งรูปลักษณ์ ขนาด และระดับแรงดันบวกที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกาย ผู้วิจัยได้ออกแบบอุปกรณ์ PEP ใหม่ โดยมีแนวคิดคือ เป็นอุปกรณ์ที่ให้ระดับแรงดันบวกอยู่ในช่วงของการบำบัด (5 – 20 ซม.น้ำ), มี dead space ต่ำ, ไม่เกิดการหายใจเอาอากาศเดิมซ้ำ, ไม่เพิ่มงานของการหายใจเข้าและสามารถสวมใส่ได้ขณะออกกำลังกาย วัตถุประสงค์ของการนำเสนอครั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการของชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ PEP เพื่อหาขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมของชิ้นส่วนก่อแรงดันบวกที่สามารถก่อแรงดันบวกในช่วงของการบำบัด ในอัตราการไหลของอากาศขณะหายใจออกขณะพักระหว่าง 0.2-0.4 ลิตรต่อวินาที และขณะออกกำลังกาย 0.5-1.0 ลิตรต่อวินาที, โดยมีสมมติฐานว่า ขนาดรูทางออกของอากาศ, ความสูงกรวยและอัตราการไหลของอากาศมีอิทธิพลต่อความดันบวกที่เกิดขึ้น ผู้วิจัยทดสอบระดับแรงดันบวกที่เกิดขึ้นจากชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก ทรงกรวยสูง 1 ซม. และ แบบหน้าตัดราบ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง(Ø)รูทางออกของอากาศ 5, 6 และ7 มม.และระบบควบคุม โดยใช้ระบบ BIOPAC MP 36 ทดสอบชิ้นส่วนก่อแรงดันบวกแต่ละชิ้น 3 รอบในอัตราการไหลที่แตกต่างกันตั้งแต่ 0.1-1.5 ลิตรต่อวินาที ด้วยความถี่การเก็บข้อมูล 500 Hz ผลพบว่า แรงดันบวกเพิ่มขึ้นในลักษณะ exponential ตามการเพิ่มขึ้นของอัตราการไหลในทุกๆชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก แต่แรงดันบวกไม่เพิ่มขึ้นในระบบควบคุม ชิ้นส่วนก่อแรงดันบวกแบบหน้าตัดราบขนาด Ø 5 มม. ให้แรงดันบวกสูงสุด ขณะที่ชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก ทรงกรวยขนาดØ 7 มม.ให้ความดันบวกต่ำที่สุด ชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก แบบหน้าตัดราบและทรงกรวยขนาดØ 5 มม.เหมาะสำหรับใช้งานขณะพักโดยให้แรงดันบวกระหว่าง 1.66-11.06 และ 1.43-9.58 ซม.น้ำตามลำดับ ส่วนอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับใช้งานขณะออกกำลังกายคือ ขนาดØ 6 และ 7 มม.ทั้งแบบหน้าตัดราบซึ่งให้ความดันบวกระหว่าง 4.17-25.12 และ 3.52-15.57 ซม.น้ำ ตามลำดับ และทรงกรวยซึ่งให้ความดันบวกระหว่าง 4.24-18.20 และ 2.22-11.75 ซม.น้ำตามลำดับ สรุปได้ว่าขนาดที่เหมาะสมของชิ้นส่วนก่อแรงดันบวก สำหรับใช้งานขณะพักคือ อุปกรณ์แบบหน้าตัดราบและทรงกรวยขนาดØ 5 มม.และอุปกรณ์ที่เหมาะใช้งานขณะออกกำลังกายคือ แบบหน้าตัดราบและทรวงกรวยขนาดØ 6 และ 7 มม. 
ผู้เขียน
567090006-4 นาย ฉัตรชัย พิมพศักดิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล ชนะเลิศการนำเสนอในรูปแบบโปรสเตอร์ 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 20 มิถุนายน 2559 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum