ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ขนาดของเซนเซอร์ที่เหมาะสมในการวัดความดันโลหิตแบบไม่รุกล้ำด้วยเครื่องวัดอย่างต่อเนื่องแบบใหม่ (KKU-KMITL NICBP) |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
28 พฤษภาคม 2561 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) |
สถานที่จัดประชุม |
โรงแรมธรรมรินทร์ ธนา |
จังหวัด/รัฐ |
ตรัง |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
27 พฤษภาคม 2561 |
ถึง |
29 พฤษภาคม 2561 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2018 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
1551-1561 |
Editors/edition/publisher |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
บทคัดย่อ |
การวัดความดันโลหิตอย่างต่อเนื่องแบบไม่รุกล้ำ (NICBP) เป็นวิธีการที่ใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตตามเวลาจริง ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอต่อการใช้งานเนื่องจากมีราคาสูง จึงได้มีการพัฒนา NICBP ตามหลักการโทโนเมตรีมาโดยใช้ตรวจจับแรงกดแบบกลมเล็ก (FSR) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 และ 0.5 นิ้ว (KKU-KMITL NICBP) แต่ยังไม่มีการทดสอบว่าเซนเซอร์ขนาดใดมีความเหมาะสมในการนำมาใช้งาน การศึกษาในครั้งนี้จึงต้องการทดสอบและเปรียบเทียบความเที่ยงภายในผู้วัดระหว่างเซนเซอร์ทั้ง 2 ขนาด ในอาสาสมัครสุขภาพดี 10 คน ในขณะนั่งพักหลังพิงพนัก วัดความดันโลหิตซิสโทลิก (SBP) ไดแอสโทลิก (DBP) ของอาสาสมัคร เป็นเวลา 10 นาที และหาค่าเฉลี่ยทุก 10 วินาที อาสาสมัครจะถูกวัด 2 ครั้ง ในเซนเซอร์ทั้ง 2 ขนาด วิเคราะห์ความเที่ยงภายในผู้วัดด้วยสถิติ intraclass Correlation Coefficient (ICC) , standard error of measurement (SEM), minimal detectable change (MDC), coefficient of variation (CV) และ Bland-Altman plot ผลการศึกษาพบว่าค่า เซนเซอร์ทั้ง 2 ขนาดมีความเที่ยงภายในผู้วัดอยู่ในระดับดี โดยเซนเซอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 นิ้วมีค่า ICC มากกว่า ค่า SEM, MDC, CV และ mean difference น้อยกว่าเซนเซอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 นิ้ว จึงสรุปได้ว่าเซนเซอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 นิ้วมีขนาดเหมาะสมสำหรับนำไปใช้กับอุปกรณ์ KKU-KMITL NICBP มากกว่าเซนเซอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 นิ้ว |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ได้รับรางวัล |
ชื่อรางวัล |
บทความวิจัยดีเด่นสาขานวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ |
ประเภทรางวัล |
รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ |
หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา |
วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล |
28 พฤษภาคม 2561 |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|