2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสลายคอร์ปัส ลูเทียมและความเข้มข้นของฮอร์โมนเอสตราไดออลในช่วงก่อนการตกไข่ในโคนมสาวและโคบราห์มัน x พื้นเมืองที่ได้รับการผสมเทียมแบบกำหนดเวลา  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 9 มีนาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 19 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 9 มีนาคม 2561 
     ถึง 9 มีนาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 19 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 513-520 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการผสมเทียมแบบกาหนดเวลา 7-day และ 5-day Co-Synch ร่วมกับการฉีดฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน (PGF2α) 1 และ 2 ครั้ง ต่อการสลายคอร์ปัส ลูเทียม (luteolysis) และความเข้มข้นฮอร์โมนเอสตราไดออล (E2) ในช่วงก่อนการตกไข่ ใช้โคนมสาว (การทดลองที่ 1 จานวน 60 ตัว) และโคสาวบราห์มัน x พื้นเมือง (การทดลองที่ 2 จานวน 60 ตัว) สุ่มโคให้ได้รับการผสมเทียมดังนี้ (1) ฉีดฮอร์โมน GnRH และสอด CIDR เป็นเวลา 7 และ 5 วัน (2) ฉีดฮอร์โมน PGF2α ในวันที่ถอน CIDR (3) ฉีดฮอร์โมน GnRH ในชั่วโมงที่ 54 และ 72 และ (4) ผสมเทียมโคทั้ง 2 การทดลอง เก็บตัวอย่างเลือดในวันที่ 0 7 หรือ 5 9 และวันที่ผสมเทียม เพื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นของฮอร์โมน จากการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (P4) การสลายคอร์ปัส ลูเทียม ขนาดฟอลลิเคิลก่อนการตกไข่และอัตราการ ผสมติดไม่มีความแตกต่างกันทั้งในโคนมสาวและโคบราห์มัน x พื้นเมือง (P>0.05) อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของฮอร์โมน E2 ในวันที่ 9 ของโคนมสาวและโคบราห์มัน x พื้นเมืองที่ได้รับ 5-day Co-Synch สูงกว่า โคที่ได้รับ 7-day Co-Synch (6.4 vs. 4.7 pg/mL) และ (5.9 vs. 4.0 pg/mL, P<0.05) ดังนั้นการผสมเทียมแบบกาหนดเวลา 5-day Co-Synch ที่ฉีดฮอร์โมน PGF2α 2 ครั้ง ส่งผลให้ความเข้มข้นของฮอร์โมน E2 สูงกว่า 7-day Co-Synch และสามารถเพิ่มอัตราการผสมติดในโคสาวได้ 
ผู้เขียน
585030007-6 นาย ณัฐวุฒิ กกรัมย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล นำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ระดับดี 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 9 มีนาคม 2561 
แนบไฟล์
Citation 0