ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การศึกษาพารามิเตอร์แรงต้านของดินในพื้นที่ไร่ของจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
9 กันยายน 2559 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 9 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย |
สถานที่จัดประชุม |
อิทแพค เมืองทองธานี |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
8 กันยายน 2559 |
ถึง |
10 กันยายน 2559 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
17 |
Issue (เล่มที่) |
17 |
หน้าที่พิมพ์ |
83 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาพารามิเตอร์แรงต้านของดินในพื้นที่ไร่ของจังหวัดขอนแก่นประเทศไทย. โดยทำการทดสอบไถรื้อตออ้อย ด้วยอุปกรณ์ที่เกษตรกรนิยมใช้โดยทั่วไป ประกอบด้วย: ผาลบุกเบิก 3 จาน, ผาลพรวน 7 จาน และผาลสับกลบเศษซากอ้อย ในแปลงทดสอบขนาด 20x150 เมตร จำนวน 3 ซ้ำ/อุปกรณ์ ระหว่างการทดสอบ ทำการวัดคุณสมบัติของดิน และวัดข้อมูลการไถรื้อตออ้อย ประกอบด้วย: แรงฉุดลาก, หน้ากว้างและความลึกของการไถ, ความเร็วเฉลี่ย และประสิทธิภาพการทำงาน จากนั้น นำข้อมูลการไถรื้อตออ้อยไปคำนวณหาค่าพารามิเตอร์แรงต้านของดิน โดยใช้สมการจากการทดลอง (empirical equation) ซึ่งพัฒนาโดยสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (ASABE Standard D497.5, 2006). ผลการศึกษาพบว่า เนื้อดินในพื้นที่ที่ทดสอบ มีส่วนประกอบของเนื้อดินที่คาบเกี่ยวระหว่างดินเนื้อหยาบและดินเนื้อปานกลาง มีค่าพารามิเตอร์แรงต้านของดิน (Fi) ระหว่าง 1.4-1.5 ในขณะที่ สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ใช้ค่าระหว่าง 0.45 สำหรับเนื้อดินหยาบและ 0.70 สำหรับเนื้อดินปานกลาง ปรากฎการณ์ที่มีความแตกต่างของค่าพารามิเตอร์แรงต้านของดิน (Fi) ดังกล่าว ถือเป็นกรณีเฉพาะ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป เพื่อเพิ่มความเข้าใจต่อคุณสมบัติจำเพาะของเนื้อดินกลุ่มนี้ของไทย |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Abstract |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|