2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การใช้กระบวนการตัดสินใจหลายปัจจัยแบบฟัซซีเพื่อเลือกแผนปรับปรุงทางรถไฟ: กรณีศึกษาทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางถนนจิระ ถึง สถานีหนองคาย ประเทศไทย  
Date of Distribution 19 July 2018 
Conference
     Title of the Conference ืการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (NCCE23) 
     Organiser คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     Conference Place โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  
     Province/State อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 
     Conference Date 18 July 2018 
     To 20 July 2018 
Proceeding Paper
     Volume 2561 
     Issue
     Page 260 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract หลายปีที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพของรางรถไฟนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจค่อนข้างมากหลายองค์กรได้ทำการวิจัยอย่างจริงจังโดยมีจุดมุ่งหมายด้านการรักษาความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือในระดับสูงด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานเนื่องจากปัจจัยการเสื่อมสภาพเป็นประเด็นสำคัญของการศึกษาครั้งนี้การศึกษานี้ใช้กระบวนการตัดสินใจจากหลากหลายปัจจัยแบบคลุมเครือ (Fuzzy Multi Attribute Decision Making Method, FMADM) เพื่อวิเคราะห์การชำรุดและเสื่อมสภาพของทางรถไฟเพื่อเลือกแผนปรับปรุงสภาพทางรถไฟเมื่อถึงช่วงเวลาที่ต้องดำเนินการโดยการศึกษานี้ได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและออกแบบสอบถามเพื่อสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจเลือกแผนการปรับปรุงทางรถไฟผลการศึกษาพบว่าสภาพรางชำรุดหรือเสื่อมสภาพเป็นสภาพการชำรุดของรางมีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกรางซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยของสภาพการใช้งานซึ่งสามารถจำแนก Defect Code ตามมาตรฐาน The international Union of Railways (UIC) โดยวิธี Pairwise Comparison ได้ 4 ชนิดโดยแต่ละชนิดมีจุดเริ่มร้าวและทิศทางการลุกลามของร้อยร้าวของรางแตกต่างกันโดยมีค่าดัชนีความคลาดเคลื่อน (Contingency Index, CI) น้อยกว่า 0.01 โดยผู้เชี่ยวชาญให้น้ำหนักความรุนแรงของ Code 200: Transverse Break defect without apparent origin รุนแรงมากที่สุดคิดเป็นค่าน้ำหนัก 0.396 รองลงมาคือ Code 135: Star-Cracking of Fishbolt Holes คิดเป็นค่าน้ำหนัก 0.275 และรุนแรงน้อยที่สุดคือ Code 1321: Horizontal Cracking at Web-Head คิดเป็นค่าน้ำหนัก 0.142 และจากการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ของ FMADM ผู้เชี่ยวชาญให้น้ำหนักในการเลือกแผนการเปลี่ยนโครงสร้างทางมีความเหมาะสมมากกว่าแผนการปรับปรุงทางโดยให้น้ำหนักความสำคัญคิดเห็นเป็น 0.620 0.380 ตามลำดับ 
Author
597040039-2 Mr. THAWATCHAI PHANYAKIT [Main Author]
Engineering Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum