ชื่อบทความ |
การบำบัดน้ำเสียยางก้อนถ้วย โดยระบบบำบัดน้ำเสียแบบถังกรองไร้อากาศ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
16 สิงหาคม 2561 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
เมษายน - มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2562 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียยางก้อนถ้วย ซึ่งเป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกในรูปของ BOD สูง และมีกลิ่นเหม็น เกิดจากการคายตัวของซีรั่ม (Serum) ในน้ำยางพารา ในการทดลองทำการเติมน้ำเสียยางก้อนถ้วยใส่ลงในถังกรองไร้อากาศแบบมีตัวกลาง Bio Media Filter ขนาด 35x35 มม. ซึ่งมีการเดินระบบแบบทีละเท (Batch) ขนาดปริมาณ 20 ลิตร จำนวน 2 ชุดการทดลอง ซึ่งชุดการทดลองที่ 1 ทดลองโดยไม่เติมจุลินทรีย์ และชุดการทดลองที่ 2 เติมจุลินทรีย์ทางการค้า ยี่ห้อ BIO100 ปริมาณ 12.50 กรัมต่อน้ำเสีย 20 ลิตร โดยเก็บตัวอย่างน้ำจากแต่ละชุด การทดลองทุกๆ 5 วัน เป็นเวลารวม 60 วัน และนำมาวิเคราะห์ค่า BOD COD SS และ pH จากผลการทดลอง พบว่า หลังจากการบำบัดน้ำเสียยางก้อนถ้วยที่ระยะ 60 วัน ในชุดการทดลองที่ 1 มีประสิทธิภาพในการลด BOD ได้สูงสุดร้อยละ 59 มีประสิทธิภาพในการบำบัด COD ได้ร้อยละ 51 มีประสิทธิภาพในการบำบัด SS ได้ร้อยละ 52 และมีค่า pH เท่ากับ 5.97 และชุดการทดลองที่ 2 มีประสิทธิภาพในการลดบีโอดี ได้สูงสุดร้อยละ 69 มีประสิทธิภาพในการบำบัด COD ได้ร้อยละ 72 มีประสิทธิภาพในการบำบัด SS ได้ร้อยละ 75 และมีค่า pH มีค่าเท่ากับ 6.05 โดยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบำบัดของชุดการทดลองที่ 1 และ 2 ด้วยสถิติ Two-sample Wilcoxon rank-sum (Mann-Whitney) test พบว่า การเติมจุลินทรีย์ทางการค้า (BIO 100) มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียยางก้อนถ้วยด้วยระบบถังกรองไร้อากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
คำสำคัญ |
น้ำเสียยางก้อนถ้วย ถังกรองไร้อากาศ ประสิทธิภาพการบำบัด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|