2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาความสูญเปล่าในกระบวนการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น กรณีศึกษาธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์กล้องวงจรปิด จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 มิถุนายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารจัดการ ครั้งที่ 10 ประจำปี 2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม อาคารวิจัยและพัฒนาฯ คณะวิทยาการจัดการ 
     จังหวัด/รัฐ สงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 30 มิถุนายน 2561 
     ถึง 30 มิถุนายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่) 2561 
     หน้าที่พิมพ์ 541-552 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น เป็นการศึกษามูลค่าของสินค้าคงคลังที่เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการของธุรกิจที่ช่วยในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสูญเปล่าที่เกิดจากการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็นโดยศึกษาจากบริษัท ABC จังหวัดขอนแก่น เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเหมาะสมโดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ปลายเปิดกับเจ้าของกิจการ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 คนรวมถึงการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานจริง ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดถูกนำมาสรุปร่วมกันกับเจ้าของกิจการเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยใช้เครื่องมือ SIPOC Model เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการทั้งหมดในภาพรวมตั้งแต่ผู้ผลิต เพื่อค้นหาความสูญเปล่า กระบวนการภายในและปัจจัยต่อกระบวนการไปจนถึงลูกค้าร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนภูมิกระบวนการไหล (Process Chart) โดยผลการวิจัยพบว่ากระบวนการการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่เกิดความสูญเปล่าคือกิจกรรมการสั่งซื้อ กิจกรรมการจัดเก็บสินค้า และกิจกรรมการค้นหาสินค้าซึ่งถ้าหากสามารถลดความสูญเปล่าตามแนวทางได้แก่การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดเก็บ การค้นหาสินค้าและการทำงานของพนักงานจะสามารถลดมูลค่าสินค้าคงคลังได้ 343,500 บาท คิดเป็น 30 % ของมูลค่าของการจัดเก็บสินคงคลังกลุ่มอุปกรณ์ติดตั้งกล้องวงจรปิด 
ผู้เขียน
595740188-2 นาย จิรวัฒน์ ศรีสว่างวงศ์ [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0