2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดการการผลิตถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนอุดม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 กันยายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติ ประจำปี2561 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 กันยายน 2561 
     ถึง 23 กันยายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 408-411 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการการผลิตของถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าวของเกษตรกรตำบลโนนอุดม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีกลุ่มตัวอย่าง 122 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า การถือครองที่ดินของเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองในนาข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดินของตนเองคิดเป็นร้อยละ 70.04 และมีที่ดินเฉลี่ยเท่ากับ 14.64 ไร่ต่อราย ส่วนพื้นที่ในการปลูกถั่วเหลืองร้อยละ 60.66 ปลูกถั่วเหลืองต่ำกว่า 10 ไร่ พื้นที่ในการปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 11.51 ไร่ ดินที่ใช้ปลูกถั่วเหลือง คือดินเหนียว คิดเป็นร้อยละ 62.30 และวิธีการเตรียมดินก่อนการปลูกถั่วเหลืองคือ การเผาตอซัง คิดเป็นร้อยละ 82.80 ส่วนแหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกถั่วเหลือง เกษตรกรร้อยละ 96.70 ใช้น้ำจากคลองส่งน้ำชลประทาน เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองที่เกษตรกรนิยมปลูกในพื้นที่มากที่สุด คือพันธุ์ สจ.5 คิดเป็นร้อยละ 62.30 เกษตรกรใช้วิธีการปลูกโดยวิธีการหว่าน ผลผลิตเฉลี่ยทั้งหมดของเกษตรกรทั้งหมด เท่ากับ 2,589.14 กิโลกรัม วิธีการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองของเกษตรกร ส่วนใหญ่เกษตรกรใช้รถเกี่ยวนวดถั่วเหลืองร้อยละ 93.44 คำสำคัญ: การปลูกถั่วเหลือง การเตรียมพื้นที่ปลูก การเผาตอซัง ถั่วเหลืองฤดูแล้ง Abstract This study aimed to examine management of soybean production in the dry season of farmers in Nonudom Sub-district, Chumpae District, Khonkaen Province. There were 122 samples in the study. Based on the results of study, it was found that in term of ownership of land of farmers who cultivated the soybean in the rice fields, most of the farmers were the owner of the land (70.04%) with average area of 14.64 Rai per farmer. About 60.66% of farmers cultivated soybean on the area that smaller than 10 Rai. Average area of soybean cultivation was 11.51 Rai. The soil used to cultivate the soybean was clay (62.30%). The method to prepare the soil for soybean cultivation was the incineration of stubble (82.80%). In terms of water source for soybean cultivation, 96.70% of farmers used water from irrigation canal. Soybean seeds grown by most farmers in the area were Sor.Jor. 5 (62.30%). Farmers cultivated the soybean by sowing method. Average production of every farmers was 2,589.14 kilograms. Based on. Most of farmers used a soybean harvest truck (93.44%). Keywords: Soybean Plantation, area preparation, rice straw burning, soybean in the dry season  
ผู้เขียน
575030038-4 น.ส. ยุวรัตน์ บุญเกษม [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0