ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
พัฒนาการและลักษณะชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้งบนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
25 ตุลาคม 2561 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติพื้นถิ่นโขง ชี มูล ราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 3 ถอดรื้อพรมแดนความรู้ "ความท้าทายของสหวิทยาการในการพัฒนาท้องถิ่นโขง ชี มูล" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี |
สถานที่จัดประชุม |
ห้องประชุม 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ |
จังหวัด/รัฐ |
อุดรธานี |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
25 ตุลาคม 2561 |
ถึง |
26 ตุลาคม 2561 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2561 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
311-341 |
Editors/edition/publisher |
ศูนย์การเรียนรู้พุุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี |
บทคัดย่อ |
บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้งบนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการและลักษณะของชุมชน ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพตามแนวทางปรากฏการณ์วิทยา โดยมีการสัมภาษณ์ผู้รู้ ที่เป็นตัวแทนครัวเรือน เจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง การศึกษาพบว่า ชุมชนไทยร่มเย็น (นามสมมติ) ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้งบนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาที่มีความแตกต่างจากชุมชนชายแดนทั่วไป ชุมชนไทยร่มเย็นประกอบไปด้วยกลุ่มคนอพยพเข้ามาเพื่อรับการจัดสรรที่ดินจากนิคมสร้างตนเองบ้านกรวดในช่วงปี พ.ศ.2512 กลุ่มคนอพยพส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยโคราช ไทยลาว และไทยเขมร การจัดตั้งชุมชนในยุคเริ่มต้นเป็นการจัดในลักษณะผังจัดสรรเรียงรายตามแบบแผนของนิคมสร้างตนเองบ้านกรวด ต่อมาภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบตามแนวชายแดน ช่วงปี พ.ศ. 2523 รัฐได้จัดรวมราษฎรจากผังจัดสรรเรียงรายให้รวมเข้ามาเป็นชุมชนที่เป็นระเบียบตามโครงการหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย-กัมพูชา (ปชด.) เพื่อสะดวกต่อการปกครอง จนมาในยุคปัจจุบันชุมชนถูกเลือกให้เป็นหมู่บ้านคู่ขนานตามแนวชายแดน การศึกษาครั้งนี้ได้พบว่าพัฒนาการและลักษณะของชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้งที่แตกต่างจากชุมชนชายแดนทั่วไป ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ การใช้พื้นที่ ผู้คน ปฏิสัมพันธ์และอำนาจ เพราะการที่ชุมชนต้องตกอยู่ภายใต้นโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ของรัฐ สะท้อนให้เห็นอำนาจของรัฐ ประกอบกับอำนาจของทุนบนพื้นที่ชายแดน อย่างไรก็ตามชุมชนเองได้ตอบโต้ต่อรองกับทั้งรัฐและทุนผ่านปฏิบัติการทางสังคมเรื่องต่างๆ ด้วยเช่นกัน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|